รูปแบบการบริหารจัดการตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลจุน (บ้านบัวสถาน) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น 2) สร้างรูปแบบ 3)ศึกษาผลการใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลจุน (บ้านบัวสถาน) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ใช้วิธีการดำเนินวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของครูจำนวน 36 คน สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยใช้แบบสรุปข้อมูล แบบสำรวจ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) สร้างรูปแบบ โดยการออกแบบและยกร่างรูปแบบ ตรวจสอบความเหมาะสมรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน โดยใช้การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบโดยผู้เข้าร่วมวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนอนุบาลจุน (บ้านบัวสถาน) จำนวน 36 คน 4) ประเมินรูปแบบในด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยรองผู้อำนวยการและครู จำนวน 38 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูผู้สอนออกแบบการจัดการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวชี้วัด และผลการเรียนรู้ของแต่ละช่วงชั้น กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ไม่เหมาะสมกับบริบทและสภาพปัญหาการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นจริง 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา บุคลากร กระบวนการ การวัดและประเมินผล เงื่อนไขความสำเร็จ โดยมีกระบวนการนิเทศ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติและสังเกตชั้นเรียน ขั้นประเมินและสะท้อนผลการปฏิบัติงาน 3) ครูมีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมอยู่ในระดับดี และมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมปฏิบัติได้ถูกต้องเหมาะสม ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และ 4) ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นต่อรูปแบบด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
โรงเรียนอนุบาลจุน (บ้านบัวสถาน). (2563). สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน. (อัดสำเนา)
โสภิต ฉายะสถิตย์. (2563). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสองภาษาในประเทศไทย. วารสารสหศาสตร์, 20(2), 33-43.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2547). การสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ของญี่ปุ่น. KKU Journal of Mathematics Education, 1(1), 5-6.
ชาริณี ตรีวรัญญู. (2557). การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study): ทางเลือกใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน (ฉบับปรับปรุง 2557). เข้าถึงได้จาก https://english.prc. ac.th/document/teacher/curriculum/4c5991e59785af35dc4cb3f2de80863ce8fd1307.pdf
ซาโต มานาบุ. (2559). การปฏิรูปโรงเรียน แนวความคิด “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” กับการนำทฤษฎีมาปฏิบัติจริง. แปลโดย กุลกัลยา ภู่สิงห์. กรุงเทพฯ : ปิโก (ไทยแลนด์).
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธา.
นฤมล อินทร์ประสิทธิ์. (2552). การศึกษาชั้นเรียน: นวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(2), 12-2.
นุชนาฎ จันทร และสมาน อัศวภูมิ. (2558). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเครือสัมมาสิกขา. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 5(2), 185-192.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2559). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2560). ความรู้ ความคิด ทักษะ และคุณธรรมของครู. ใน ความเป็นครูและการพัฒนาครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2563). เอกสารประกอบการสอน กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก. พิษณุโลก : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยศึกษานิเทศก์. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์.
สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
DuFour, R. & Eaker, R. (2008). Revisiting professional Learning Communities at Work. Bloomington, IN : Solution Tree.
DuFour, R. (2004). What is a professional learning community?. Educational Leadership, 61(8), 6-11.
OECD. (2021). Teacher professional development. Retrieved from https://gpseducation.oecd.org/revieweducationpolicies/#!node=41732&filter=all
Petty, G. (2004). Active learning work: the evidence. Retrieved from http://www. geoffpetty.com.
Shenker, J. I., Goss, S. A. & Bernstein, D. A. (1996). Instructor’s resource manual for psychology: implementing active learning in classroom. Boston : Houghton-Mifflin.
Stigler, J. & Hiebert, J. (1999). The teaching gap: best ideas from the world’s teachers for improving education in the classroom. New York : the free.