พฤติกรรมการใช้ชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

มยุรี รัตนเสริมพงศ์
ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับเจตคติเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และ 2) ศึกษาระดับพฤติกรรมการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ปีการศึกษา 2565 ทุกคณะ ทุกชั้นปี จำนวน 376 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ โดยการแบ่งนักศึกษาตามคณะต่าง ๆ จากนั้นเทียบสัดส่วนตามขนาด แล้วจึงทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับเจตคติเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.65) เมื่อเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาประเทศทุก ๆ ด้าน และทำให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน (gif.latex?\bar{X}= 4.48) รองลงมา การปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตจะทำให้ประชาชนในทุกระดับมีชีวิตที่ดีขึ้น (gif.latex?\bar{X} = 4.46) และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางที่ทันสมัย เหมาะกับการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน (gif.latex?\bar{X} = 4.41) และ 2) ระดับพฤติกรรมการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง-เป็นบางครั้ง (gif.latex?\bar{X} = 3.37) เมื่อเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความรู้และคุณธรรม (gif.latex?\bar{X}= 3.81) รองลงมา คือ ความมีเหตุผล (gif.latex?\bar{X} = 3.39) ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี (gif.latex?\bar{X} = 3.37) และความพอประมาณ (gif.latex?\bar{X} = 3.31) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
รัตนเสริมพงศ์ ม. ., & ตติยะลาภะ ด. . (2024). พฤติกรรมการใช้ชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิจยวิชาการ, 7(3), 271–286. https://doi.org/10.14456/jra.2024.74
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์. (2553). พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา : คณะครุศาสตร์.

กานดา เต๊ะขันหมาก. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

จันทรา ปักการะโถ. (2552). ความรู้ความเข้าใจและเจตคติที่มีต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์. (ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

เบญจวรรณ อุชุพงศ์อมร. (2557). ทัศนคติที่มีต่อการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงด้านการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและการตัดสินใจซื้อของคนทำงานประจำเขตกรุงเทพมหานครตอนใต้. (ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสยาม.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ : บริษัท วีพริ้นท์ (1991) จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ประมวลคำในพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่พุทธศักราช 2493-2549 ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ.2566-2570. กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อัญชลี สิงหสุต. (2534). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และเจตคติกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์ของนักศึกษาระดับอาชีวะ ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Best, J. W. (1970). Research in Education. New York : Prentice-Hall, Englewood Cliffs.

Likert, R.A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological, 140, 1-55.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York : Harper & Row.