การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

Main Article Content

ทรงพล ภูมิอินทร์
สมชาย ดัดประดิษฐ์
ศศิกัญญา กัลป์ทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ในวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว กับนักเรียน จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยมีหนังสือแสดงความยินยอม เข้าร่วมโครงการวิจัย สำหรับผู้แทนโดยชอบธรรมและผู้ปกครอง โดยเครือข่ายของหน่วยงาน คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เป็นผู้รับรอง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ในวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 80/80 ที่พัฒนาขึ้น พบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1) 83.48/ (E2) 84.33 ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ในสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สูงกว่าก่อนเรียนที่ตั้งไว้ในสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ คือ gif.latex?\bar{X} = 3.58, S.D. = 0.87 โดยมีความพอใจมาก

Article Details

How to Cite
ภูมิอินทร์ ท. ., ดัดประดิษฐ์ ส. ., & กัลป์ทอง ศ. . (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 7(3), 239–252. https://doi.org/10.14456/jra.2024.73
บท
บทความวิจัย

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนีย์ โทวรรณา. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมิเทคนิคจิ๊กซอว์ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องจังหวัดของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นงลักษณ์ เขียวมณี. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พระปลัดสถาพร ปุ่มเป้า. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์วรรณคดีเรื่องนิราศภูเขาทองโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พระมหาวรเมธ ฐานวฑฺฒโก (นวลรักษา). (2561). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หลักธรรมนำชาวพุทธ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดมงคล อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัชราภรณ์ กองมณี. (2546). การพัฒนาแผนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยเน้นกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน) บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริธร เชาวน์ชื่น. (2556). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เศวตกนิษฐ์ ศรีสนาย. (2552). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค Jigsaw สาระประวัติศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (ภาคนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมนึก อ่อนแสง. (2555). ผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อิสรีย์ น้อยมิ่ง. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.