การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแนวคิดกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของบลูม 6 ขั้นเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูแห่งชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพของนักศึกษาครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะความเป็นครูแห่งชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) ของนักศึกษาครู โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแนวคิดกระบวนการ พัฒนาสติปัญญาของบลูม 6 ขั้น และ 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะความเป็นครูแห่งชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ ของนักศึกษาครู โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแนวคิดกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของบลูม 6 ขั้นกับเกณฑ์ระดับดีเยี่ยม (ร้อยละ 86) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาครูชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 1 กลุ่มเรียน มีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน 1 ที่จัดทำขึ้นตามลักษณะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของบลูม 6 ขั้น จำนวน 15 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 15 ชั่วโมง ที่มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC=.67-1.00) และแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับคุณลักษณะความเป็นครูแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 48 ข้อ มีค่า IOC รายข้ออยู่ระหว่าง .67-1.00 และมีค่า IOC ทั้งฉบับเท่ากับ .87 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .958 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะความเป็นครูแห่งชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพของนักศึกษาครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 83) โดยด้านคุณลักษณะความเป็นครูแห่งชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกัน ด้านการร่วมมือรวมพลัง ด้านการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ ด้านการใฝ่เรียนรู้ และด้านการสะท้อนผลการปฏิบัติงาน ตามลำดับ และ 2) ผลการวิเคราะห์และเปรียบเทียบคุณลักษณะความเป็นครูแห่งชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพของนักศึกษาครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแนวคิดกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของบลูม 6 ขั้น ต่ำกว่ากับเกณฑ์ระดับดีเยี่ยม (ร้อยละ 86) (t=-1.75, p-value=.044)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรรณิกา บุญวิเทียน และคณะ. (2565). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(5), 713-732.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2563-2570. เข้าถึงได้จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/stg-policy/930-2563-2570.html
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2565). เป้าหมายการพัฒนาคณะครุศาสตร์. เข้าถึงได้จาก https://edu.ssru.ac.th/en/home
จารุวรรณ สนองชาติ และคณะ. (2562). ปัจจัยในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของอาจารย์พยาบาล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4250-4260.
จุรีรัตน์ เสนาะกรรณ. (2562). กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(1), 12-23.
ชาริณี ตรีวรัญญู. (2560). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน: แนวคิดและแนวทางสู่ความสำเร็จ. วารสารครุศาสตร์, 45(1), 299-319.
บุศรา นิยมเวช สิริรัตน์ หิตะโกวิท ทยิดา เลิศชนะ และสันทนา สุธาดารัตน์. (2563). การจัดการเรียนรู้ของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ใช้วิธีการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(111), 17-31.
ฝ่ายทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2565). สถิติจำนวนนักศึกษาลงทะเบียน. เข้าถึงได้จาก https://reg.ssru.ac.th/isqy12
พรทิพย์ วงศ์ไพบูลย์ (2560). การเรียนรู้เชิงรุกและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), 327-336.
พระครูสุตวรธรรมกิจ และพระมหาพงศ์ทราทิตย์ สุธีโร. (2563). การพัฒนาครูไทยสู่ศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 5(2), 19-30.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2564). นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565-2569). เข้าถึงได้จาก https://ssru.ac.th/about_vision-and-strategy.php
รัศมี ศรีนนท์ และคณะ. (2061). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 331-343.
วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2563). สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(3), 193-202.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1-12.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2561). คุรุสภาประกาศแนวทางสนับสนุนเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครูเน้น PLC อุดหนุน 5 หมื่น–2 แสน. เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/educa tion/news_812594
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/download/document /SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2565). ประกาศสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเรื่อง การเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ. เข้าถึงได้จาก https://www.ksp.or.th/ksp2018/2022/12/41144/
อรนุช ศรีสะอาด. (2554). การประเมินตนเอง. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(2), 1-5.
อรวรรณ วรรณฤทัย และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการ เรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาสอนศาสนา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(6), 17-32.
Adams, N. E. (2015). Bloom's taxonomy of cognitive learning objectives. Journal of Medical Library Association, 103(3), 152-153. Doi: 10.3163/1536-5050.103. 3.010
Anderson, L. & Krathwohl, D. A. (2001). Taxonomy for Learning, Teaching and Assessing: A revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. New York : Longman.
Antinluoma, M. Ilomäki, L. & Toom, A. (2022). The involvement of teaching assistants in professional learning communities. Cogent Education, 9(1), 1-27.
Baughman, J. Brumm, T. & Mickelson, S. (2012). Student professional development: Competency-based learning and assessment. The Journal of Technology Studies, 38(2), 115-127.
DuFour, R. Eakey, R. & Many, T. (2006). Learning by Doing a Handbook for Professional Learning Communities at Work. Bloomington, IN : Solution Tree Press.
Foot, K. A. (2014). Cultural-historical activity theory : Exploring a theory to inform practice and research. Journal of Human Behavior in the Social Environment, 24(3), 329-347.
García-Martínez, I., Gavín-Chocano, Ó., León, S. P., & Ubago-Jiménez, J. L. (2021). Analysis of the pre-service teachers’ academic stress based on their self-concept and personality. Education Sciences, 11(11), 659.
Harvey, F. & Teledahl, A. (2022). Characteristics of professional learning communities in Mathematics: A systematic review. Mathematics Teacher Education & Development, 24(1), 72–95.
Luştrea, A. & Craşovan, M. (2020). The specificity of professional learning communities in Romania. Journal of Educational Sciences, 21(2), 38-55.
Slack, A. (2019). The power of professional learning: Using PLCs to enhance accessibility of instruction for English learners. International Journal of Teacher Leadership, 10(2), 17-27.
TeKippe, S. S. (2017). A roadmap to increase active learning: Reading methodology courses with problem-based learning in professional learning communities. Journal of Higher Education Theory and Practice, 17(9), 118-129.
Wong, J. L. N. (2010). Searching for good practice in teaching: a comparison of two subject-based professional learning communities in a secondary school in Shanghai. Compare: A Journal of Comparative and International Education, 40(5), 623-639.
Zhang, J. & Pang, N. (2016). Exploring the Characteristics of Professional Learning Communities in China : A Mixed-Method Study. Asia-Pacific Education Researcher, 25(1), 11–21.