ดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง จังหวัดพิษณุโลก สู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

Main Article Content

โสภณ ลาวรรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดทางวัฒนธรรมดนตรีของชาวม้ง เชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยโดยการลงพื้นเก็บข้อมูลภาคสนาม การสัมภาษณ์แบบรายบุคคลผู้นำจิตวิญญาณ ผู้นำชุมชน หัวน้าชนเผ่า โดยเฉพาะนักดนตรี การสังเกตและการสัมภาษณ์แบบมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่อาศัยของชาติพันธุ์ม้ง อำเภอชาติตระการและอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ผลการวิจัย พบว่า ดนตรีของชาวม้งมีอัตลักษณ์ที่เครื่องดนตรีโดยเฉพาะเก้งและจั๊วะเป็นสื่อกลางของความเชื่อประเพณีวัฒนธรรม มีการสื่อสารกันระหว่างบุคคลด้วยดนตรีแต่เดิมดนตรีม้งใช้ในพิธีกรรมเป็นส่วนใหญ่ ในปัจจุบันพลวัตทางวัฒนธรรมดนตรีม้งได้เชื่อมโยงกับประเพณีปีใหม่ที่จัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปีในพื้นที่บ้านน้ำจวง อำเภอชาติตระการ และพื้นที่บ้านห้วยน้ำไซ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เนื่องด้วยดนตรีมีความเชื่อมโยงกับประเพณีวัฒนธรรม การละเล่น และการดำเนินวิถีชีวิต จึงทำให้ดนตรีเป็นฐานทางวัฒนธรรม มีบทบาทสำคัญต่อการจัดงานฉลองปีใหม่ม้ง ส่งผลให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่และเพิ่มมูลค่าทางสังคม จนก่อให้เกิดความสำคัญของชนเผ่าต่อสังคมภายนอก จากผลการวิจัยทำให้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกสำหรับการจัดงานปีใหม่ม้ง ประจำปี 2565 เป็นปีแรก และเกิดกระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก

Article Details

How to Cite
ลาวรรณ์ โ. . (2024). ดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง จังหวัดพิษณุโลก สู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารวิจยวิชาการ, 7(3), 301–318. https://doi.org/10.14456/jra.2024.76
บท
บทความวิจัย

References

งามพิศ สัตย์สงวน. (2558). การวิจัยเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ใจ แซ่ย่า (2565, 6 กรกฎาคม). ความเชื่อเรื่องการเป่าเก้งสื่อสารระหว่างภพมนุษย์กับภพของวิญญาณ. (โสภณ ลาวรรณ์, ผู้สัมภาษณ์)

ประเวช แซ่หยาง. (2565, 6 กรกฎาคม). ธรรมเนียมประเพณีสำหรับการเป่าเก้งหรือแคนม้ง ประกอบการตีจั๊วะในพิธีศพของชาวม้ง. (โสภณ ลาวรรณ์, ผู้สัมภาษณ์)

เปรี๊ยะท้ง ฤทธิ์เนติ. (2565, 6 กรกฎาคม). โอกาสในการเป่าจาเครื่องดนตรีม้งที่ทำจากทองเหลือง. (โสภณ ลาวรรณ์, ผู้สัมภาษณ์)

ยศ สัตสมบัติ. (2556). มนุษย์กับวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลีคึก ฤทธิ์เนติกุล. (2540). การปรับตัวกับวิถีชีวิตใหม่ในชุมชนเมืองของชาวเขาเผ่าม้ง : กรณีศึกษาเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดเชียงใหม่ กรมประชาสงเคราะห์ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

วา แซ่หยาง (2565, 24 ธันวาคม). ข้อกำหนดของการตีจั๊วะ (กลอง) ของชาวม้ง. (โสภณ ลาวรรณ์, ผู้สัมภาษณ์)

อินธิรา อ่อนคำ. (2564). วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง : กรณีศึกษาบ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 16(1), 28-29.

Blacking, J. (1973). How musical is man?. Seattle : University of Washington Press.

Maslow, A.H. (2013). A Theory of Human Motivation (original work published 1943). Connecticut : Martino Publishing.

Thao, C. (2013) Cultural environment of the traditional Hmong community, Ban Nam Bong and Ban Huai Hai, Mueang Tai, Houaphan Province, Lao PDR. Bangkok : Silpakorn University.