การพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรท้องถิ่นมรดกวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดอุทัยธานี โดยใช้ชุมชนเป็นฐานสู่นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล

Main Article Content

เยาวเรศ ภักดีจิตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทด้านวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดอุทัยธานี 2) สร้างนวัตกรรมหลักสูตรท้องถิ่นมรดกวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดอุทัยธานี และ 3) ศึกษาผลการใช้และความพึงพอใจต่อนวัตกรรมหลักสูตรท้องถิ่นมรดกวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดอุทัยธานี โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง เป็นตัวแทนชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดอุทัยธานี ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและนักเรียน โดยเปิดตารางสำเร็จรูปของทาโร ยามาเน่ กำหนดคาดเคลื่อนร้อยละ 10 ประกอบด้วย ตัวแทนชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน 20 คน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและนักเรียน จำนวน 100 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ได้แก่ แบบสำรวจบริบทชุมชน มีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 แบบประเมินความเหมะสม มีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.70 และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทด้านวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดอุทัยธานี มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมแตกต่างกัน อันได้แก่ วิถีการดำเนินชีวิต ภาษา อาหาร การแต่งกาย ที่อยู่อาศัย ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) การพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรท้องถิ่น “มรดกวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดอุทัยธานี” ประกอบด้วย 2.1) ลาวครั่งและลาวเวียง 2.2) ขมุบ้าน 2.3) กระเหรี่ยง และ 2.4) ลาวอีสานอพยพ และสร้างสื่อวิดีทัศน์ออนไลน์ มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) การใช้นวัตกรรมหลักสูตร นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดอุทัยธานี มีทักษะสังเกต สำรวจ บันทึก สรุปองค์ความรู้ นำเสนอความรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานและมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมหลักสูตรท้องถิ่นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนก จันทร์ทอง. (2560). การสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(2), 227-241.

กล้า ทองขาว. (2561). การจัดการศึกษาฐานชุมชน. เข้าถึงได้จาก www.dpu.ac.th/ces/download.php?filename=1377584927.docx.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฉบับฉับไว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ. (2559). ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระยะเวลา (2560-2579). เข้าถึงได้จาก https://www.dga.or.th/wp-content/uploads/2018/08/file_32600e26a233b3fc9c88e48300c10334.pdf

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2565). จังหวัดอุทัยธานี. เข้าถึงได้จาก http://www.human.nu.ac.th/lower_north/dataprovince_UTHAI.php.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : วีพรินท์.

ปิยดา ชัชวาลปรีชา. (2557). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นการสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงฟ้อนสไบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดลำปาง. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(1), 15-26.

เยาวเรศ ภักดีจิตร และคณะ. (2565). นวัตกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์. (รายงานการวิจัย).สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เยาวเรศ ภักดีจิตร และภิรญา โพธิพิทักษ์. (2565). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 12(2), 106-121.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2565). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 17(1), 61-76.

ลักขณา สุกใส และจินตกานด์ สุธรรมดี. (2562). การพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรท้องถิ่น “แผ่นดินถิ่นรักษ์ชัยภูมิ” แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนสู่นวัตกรรมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระดับประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 21(2), 157-168.

วารุณี อิ่มใจ และเยาวเรศ ภักดีจิตร. (2563). การพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรท้องถิ่นและวีดีทัศน์ออนไลน์ เรื่อง วิถีชีวิตชุมชนเขาทอง. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 3(3), 1-12.

วิจารณ์ พานิช. (2557). การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.

ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์. (2557). กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

ออมสิน จตุพร และอมรรัตน์ วัฒนาธร. (2562). การพัฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามแนวคิดการศึกษาอิงถิ่นฐานสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา: กรณีชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน จังหวัดนครสวรรค์.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(4), 342-356.

Bednar, S. & Simpson, N. B. (2013). Incorporating community-based learning in a course on the economics of poverty. Retrieved from https://www.aeaweb.org/conference/2014/retrieve.php?pdfid=214.

Bedri, Z, de Frein, R. & Dowling, G. (2017). Community-based learning : A primer. Irish Journal of Academic Practice, 6(1), 1-27.

Flecky, K. (2011). Foundations of service learning. Retrieved from http://samples.jbpub.com/9780763759582/59582_CH01_FINAL.pdf.

Jaycox, R. (2001). Rural home schooling and place-based education. Charleston, W V : ERIC.

Judd, C. H. (1982). Educational Psychology. Chicago : The University of Chicago.

Lawey. (1998). Florida module on generic teacher competencies: Module on module. Florida : The University of Florida.

Levin, B. (2001). Energizing Teacher Education and Professional Development with Problem- Based Learning. Alexandria, VA. : Association for Supervision and Curriculum Development.

Rusbult, C. (2007). Thinking Skills in Education. Retrieved from http://www.Asa3.org/ASA/education/think/skills.htm.

The Brooker Group. (1999). Background Paper on Higher Education Prepared for the Asian Development Bank. n. p.