กระบวนการมีลูกของพ่อเลี้ยงเดี่ยวที่เป็นเกย์: การสร้างความรู้จากประสบการณ์

Main Article Content

กิตติ์ธนัตถ์ ยาไธสงกรณ์
พีรเดช ประคองพันธ์
สุเมษย์ หนกหลัง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเงื่อนไขของเกย์ชายรักชายที่ทำให้มีสถานะเป็นพ่อในบริบทสังคมไทย เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีการใช้วิธีดำเนินการศึกษาแบบเรื่องเล่า ผู้ให้ข้อมูลในงานวิจัยนี้ คือ พ่อเลี้ยงเดี่ยวที่เป็นเกย์ โดยใช้การคัดเลือกแบบมีผู้แนะนำเฝ้าประตูเป็นผู้ตัดสินใจ คัดกรอก ผู้ที่มีคุณสมบัติตรงกับเกณฑ์การคัดเข้าจากทั้งสี่ภูมิภาคของประเทศไทย จำนวน 15 คน ผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จนได้ข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสร้างเรื่องเล่า ผลการวิจัย พบว่า เงื่อนไขของเกย์ชายรักชายที่ทำให้มีสถานะเป็นพ่อในบริบทสังคมไทย สามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่ม 2 เงื่อนไข คือ “กลุ่มที่มีลูกด้วยความตั้งใจ” และ “กลุ่มที่มีลูกจากความไม่ตั้งใจ” เงื่อนไขที่ 1 การต้องปิดบังความต้องการ หรือรสนิยมทางเพศที่แท้จริงเอาไว้ เพื่อหวังจะมีลูกตามบรรทัดฐานของสังคม มองข้ามความรู้สึกเบื้องลึกในจิตใจของตนไป เงื่อนไขที่ 2 ด้วยเหตุสุดวิสัยต่าง ๆ จึงต้องรับผิดชอบและปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคมที่ผู้เป็นพ่อต้องเลี้ยงดูลูกของตนให้เป็นคนดีของสังคม นอกจากนั้นการศึกษาในครั้งนี้ยังได้เผยให้เห็นมุมมองใหม่ เพื่อสร้างการตระหนักรู้ถึงความหลากหลายทางเพศในสังคม การไม่ตัดสินคนแต่ภายนอก จนเกิดความเข้าใจและลดการตีตราพ่อเลี้ยงเดี่ยวที่เป็นเกย์ และคนในครอบครัวของพวกเขา เพื่อสร้างสรรค์สังคมให้มีความผาสุขและเจริญก้าวหน้าไปพร้อมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). นิยามและประเภทครัวเรือน. (อัดสำเนา)

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย. (UNFPA). (2558). รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 โฉมหน้าครอบครัวไทยยุคเกิดน้อย อายุยืน. (อัดสำเนา)

ขวัญเนตร สุขใจ. (2562). ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว : ความท้าทายที่ต้องก้าวผ่านให้ได้ในสังคมไทยปัจจุบัน. เข้าถึงได้จาก http://legacy.orst.go.th /wp-content/uploads/2019/05/ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว-ความท้าทายที่ต้องก้าวผ่าน.pdf

จีรนันท์ พิมถาวร และคณะ. (2557). ลักษณะและรูปแบบการดำเนินชีวิตของมารดาในครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 40(1), 85-97.

ชลลดา จารุศรีชัยกุล. (2555). เป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวอย่างมีคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข.

ชาย โพธิสิตา. (2552). บทโหมโรง เกิดอะไรขึ้นกับครอบครัวไทย. ใน “ครอบครัวไทย” ในสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านทางสังคมและประชากร. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชาย โพธิสิตา. (2554). การเปลี่ยนแปลงครอบครัว และครัวเรือนไทย: เรา (ไม่) รู้อะไร. ประชากร และสังคม. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (2550). ดัชนีความเข้มแข็งของชุมชน ความกลมกลืนระหว่างทฤษฎีฐานรากกับข้อมูลเชิงประจักษ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (2552). วิธีการศึกษาเรื่องเล่า จุดเปลี่ยนของการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 5(2), 1-22.

ปณิธี บราวน์. (2557). ความหลากหลายทางเพศกับพหุวัฒนธรรมในสังคมไทย: การสำรวจองค์ความรู้. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 44(2), 51-70.

ปวิธิ ไทยนิยม และคณะ. (2562). ทนรับแต่ไม่ยอมรับ รายงานผลสำรวจเรื่องการเลือกปฏิบัติ และทัศนคติทางสังคมต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย. โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2562. (อัดสำเนา)

ศิริพันธ์ ถาวรทวีวงษ์. (2559). รายวิชา AN 278 ครอบครัวและเครือญาติ (Family and Kinships). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. (2560). คู่มือการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการ ด้านการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. (อัดสำเนา)

สุจิตรา อู่รัตนมณี และคณะ. (2559). การปรับตัวเมื่อเป็นครอบครัวพ่อเลี้ยงเดี่ยว : ประสบการณ์ชีวิตพ่อเลี้ยงเดี่ยว. วารสารพยาบาลทหารบก. 17(3), 217-225.

Barkhuizen, G. & Wette, R. (2008). Narrative frames for investigating the experiences of language teachers. System, 36(3), 372-387.

Bold, C. (2012). Using Narrative in Research. London : SAGE Publications.

Creswell, J.W. (2008). Quantitative and Qualitative. (3rd ed). Ohio : Pearson Prentice Hall.

Foucault, M. (1988). Technologies of the self. In Technologies of the Self : A Seminar with Michael Foucault. London : Tavistock.

Foucault, M. (2001). Power: Essential Works of Foucault 1954-1984. London : Penguin Books.

Michelstein, E., & Boczkowski, P.J. (2009). Between tradition and Change: A review of recent Research in Online news Production. Journalism, 10(5), 562-578.

Parker, K. & Wang, W., 2013. (2013). Modern Parenthood Roles of Moms and Dads Converge as They Balance Work and Family. Retrieved from https://

genderedinnovations.stanford.edu/institutions/Modern%20Parenthood%20%7C%20Pew%20Social%20&%20Demographic%20Trends.pdf