Generation Gap: การเรียนรู้ โลกทัศน์ และการใช้ชีวิตร่วมกันของสังคมต่างวัยในจังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโลกทัศน์การใช้ชีวิตของสังคมต่างวัย 2) ศึกษากระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคมต่างวัยในจังหวัดลำปาง และ 3) สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ร่วมกันของสังคมต่างวัยในจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและปฏิบัติการ โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 30 คน การสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 14 คน และการปฏิบัติการผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 85 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) โลกทัศน์การใช้ชีวิตในปัจจุบันจำแนกได้ 5 มิติ คือ 1.1) มิติทางด้านวิถีชีวิตที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน 1.2) มิติทางด้านสังคม 1.3) มิติทางด้านเศรษฐกิจและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.4) มิติทางด้านการเมืองการปกครอง และ 1.5) มิติทางด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งสามารถจัดรูปแบบการเรียนสังคมยุคปัจจุบัน คือ รูปแบบเชิงปัจเจก รูปแบบเชิงหน้าที่การงาน รูปแบบเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศ และ รูปแบบเชิงอุดมคติ 2) โดยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคมต่างวัยมีอยู่ 5 ประการ คือ 2.1) อัตลักษณ์และวิถีชีวิตชุมชนกึ่งเมืองที่มีการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วมโดยปกครองท้องถิ่น 2.2) ศักยภาพทางสังคมและวัฒนธรรมในท้องถิ่น 2.3) การเรียนรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วม 2.4) กระบวนการออกแบบกิจกรรมด้วยเวทีชุมชนและเครือข่าย และ 2.5) การปฏิบัติการและถอดบทเรียนสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น 3) นวัตกรรมการเรียนรู้และการใช้ชีวิตร่วมกันของสังคมต่างวัยในจังหวัดลำปางเกิดจากกระบวนการพัฒนา 4 อย่าง ได้แก่ 3.1) กระบวนการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ 3.2) การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ 3.3) การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้และออกแบบกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ และ 3.4) วิเคราะห์รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติการ ได้แก่ กระบวนการต้นน้ำ การสำรวจความเห็นและวิเคราะห์การใช้ชีวิต คุณค่าและความต้องการช่วงวัย กระบวนการกลางน้ำ การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้บนทุนภูมิวัฒนธรรม และกระบวนการปลายน้ำ ชุมชนการเรียนรู้ต้นแบบ การถอดบทเรียน/เวทีสรุปบทเรียน และการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2562). กถาพัฒนากร. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
กรุงเทพธุรกิจ.(2565). ปัญหาช่องว่างระหว่างวัย. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/126347
ชฎาพร โชติรดาภาณ์. (2560). ความต้องการของเด็กเจนเนอเรชั่นวายจากระบบการศึกษา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 (น. 196-204). กำแพงเพชร : สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย. (2563). การพัฒนาต้นแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันแบบพหุวัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กและเยาวชน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 21(3), 24-38.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล และคณะ. (2557). การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในมุมมองต่อคุณลักษณะของตนเองและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นอื่น. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 36(141), 1-17.
ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล. (2563). การเสริมสร้างความอบอุ่นของครอบครัวลักษณะเฉพาะในพื้นที่เป้าหมายครอบครัวอบอุ่นผลการศึกษา. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 28(1), 197-234.
นิภา วิริยะพิพัฒน์. (2560). บทบาท HRM : การจัดการช่องว่างระหว่างวัยในองค์กร. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ศศิธร ยุวโกศล และพัชสิรี ชมภูคำ. (2564). เจเนอเรชั่นกับความคิดเห็นและพฤติกรรมการใช้สื่อในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสาร, 9(2), 10-25.
สาลีวรรณ จุติโชติ และทิพมาศ เศวตวรโชติ. (2564). การดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุขในยุคดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 1(3), 77-88.
สุภาภรณ์ โสภา และคณะ. (2565). การจัดการทุนมนุษย์: ยุคเจเนอเรชั่นวาย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 112-128.
เสาวลักษณ์ พันธบุตร. (2560). อยู่อย่างคนร่วมสมัยในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), 161-167.
เอกพิชญ์ ชินะข่าย. (2564). การดำรงชีวิตของผู้สูงวัยร่วมกับคนต่างวัยที่รองรับสังคมสูงวัยอย่างมีพลัง ในพื้นที่เทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 4(3), 1-17.
POST TODAY. (2565). เข้าใจความต่างคน 4 เจเนอร์เรชั่น ทลายช่องว่างเพื่อการทำงานที่แฮปปี้. เข้าถึงได้จาก: https://www.posttoday.com/life/healthy/587633