ภูมิปัญญาใช้ปลาช่วยทำนาข้าว พื้นที่อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ลัญจกร นิลกาญจน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทเกี่ยวกับภูมิปัญญาจัดการนาข้าวนาปลาในที่เดียวกัน 2) ศึกษารูปแบบการพัฒนาการจัดการใช้ปลาทำนาข้าว และ 3) วิเคราะห์รูปแบบภูมิปัญญาใช้ปลาทำนาข้าว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลในพื้นที่วิจัยเป็นหลักจำนวน 2 ครัวเรือน ผู้วิจัยร่วม 10 ครัวเรือน หมู่ที่ 3 ตำบลเขาพระ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้อง สัมมนา และสัมมนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ที่สามารถให้ปลาว่ายน้ำไป มาสะดวกตามธรรมชาติ ให้มีระบบที่ลาดเอียงที่สามารถรับน้ำและปล่อยน้ำตามระบบที่ต้องการ มีคันนาสูงและกว้างขนาดประมาณ 6 เมตรรอบผืนนาสี่เหลี่อมมีไม้ยืนต้นให้ร่มเงา 2) รูปแบบการพัฒนาการจัดการใช้ปลาทำนาข้าว เป็นรูปแบบการใช้ภูมิปัญญาจากคนรุ่น ก่อนที่ทำนาข้าวและเลี้ยงปลาไปด้วย จากนั้นมีการสังเกตเรียนรู้แบบเข้มข้นแล้วคิดต่อยอด แล้วทดลองขนาดเล็ก โดยเพิ่มน้ำแช่ตอซังให้เปื่อยปลาช่วยขจัดตอซัง และปลาจะกลิ้งบนดินโคลนเพื่อวางไข่ เป็นการไถนาให้พร้อมหว่านกล้า เมื่อข้าวเติบโต ปลาช่วยกันกินวัชพืชใต้น้ำในนา ปลากระโดดกินแมลง เพลี้ยในนา และ 3) วิเคราะห์รูปแบบภูมิปัญญาใช้ปลาทำนาข้าว พบว่า เกิดจากการจัดการทำให้มีผลต่อพฤติกรรมของปลา การสังเกตเรียนรู้พฤติกรรมปลา ที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับการใช้ปลาทำนาข้าว

Article Details

How to Cite
นิลกาญจน์ ล. . (2024). ภูมิปัญญาใช้ปลาช่วยทำนาข้าว พื้นที่อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจยวิชาการ, 7(5), 289–302. https://doi.org/10.14456/jra.2024.100
บท
บทความวิจัย

References

จรันธนิน ปะกิรณะ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลี้ยงปลาในนาข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร จังหวัดอำนาจเจริญ. (รายงานการวิจัย). กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ : สำนักงานประมงจังหวัดอำนาจเจริญ.

ณวิญ เสริฐผล. (2564). นวัตกรรมภูมิปัญญาการทำนาข้าวในพื้นที่สูงของชาวนา ในจังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(4), 57-65.

นันธวัช นุชนารถ. (2560). ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่าแห่งวิถีชีวิต วัฒนธรรม เพื่อการศึกษาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(34), 17-26.

พุฒิภัทร เป็กเตปิน. (2565). รูปแบบการจัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม ประเทศไทย. (2566). เทคนิคการจัดการน้ำในนาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง. เข้าถึงได้จาก http://www.aecth.org/Article/Detail/138197

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. (2565). น้ำกับการทำเกษตรในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก ttps://www.arda.or.th/knowledge_detail.php?id=13

Atkinson, P., Coffey, A., Delamont, S., Lofland, J. & Lofland, L. (2007). Handbook of ethnography. Los Angeles : Sage.

Barker, C. (2012). Cultural Studies Theory and Practice. Los Angeles : Sage.

Creswell, J. W. & Creswell, J. D. (2018). Research Design Qualitative, Quantitative and Mixed Methods Approaches. Los Angeles : Sage.

Jerolmack, C. & Khan, S. (2018). Approaches to Ethnography Analysis and Representation in Participant Observation. New York : Oxford University Press.

Kottak, C. P. (2015). Cultural Anthropology Appreciation Cultural Diversity. New York : Mc Graw Hill Education.

Nanda, S. & Warms, R. L. (2017). Culture Counts a Concise Introduction to Cultural Anthropology. United States : Cengage Learning.

Symon, G. & Cassell, C. (2012). Qualitative Organizational Research Core methods and Current challenges. Los Angeles : Sage.