การวิเคราะห์และการสร้างภาพข้อมูลของเอกสารโบราณล้านนา

Main Article Content

พิเชษฎ์ จุลรอด
ชนกานต์ ก้านเหลือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลเอกสารโบราณล้านนาที่จัดเก็บในแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ และ 2) นำเสนอสารสนเทศเอกสารโบราณให้สามารถเข้าถึงโดยใช้รูปแบบแสดงองค์ความรู้ให้สามารถเข้าใจได้ง่ายด้วยการสร้างภาพข้อมูล รูปแบบการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ  การศึกษาข้อมูลเอกสารโบราณที่นำมาใช้ในการวิจัยนั้นมีจำนวน 7,457 รายการโดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คัดเลือกจากสถาบันบริการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเอกสารโบราณล้านนา ผลการวิจัย พบว่า 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารโบราณล้านนามีคำว่า “สูตร” และ “กัณฑ์” มากที่สุด แสดงให้เห็นถึงเอกสารโบราณล้านนามีความรู้เกี่ยวกับกัณฑ์เทศ และสูตรต่าง ที่มีความหมายถึงพระธรรมเทศนาที่แสดงหรืออุทิศให้ในคราวต่าง ๆ และ 2) การแสดงสารสนเทศและความรู้ในเอกสารโบราณล้านนาโดยการสร้างภาพข้อมูล สามารถสร้างภาพข้อมูลและแสดงได้ในรูปแบบ แผนภูมิ กราฟ ตาราง แผนที่ อินโฟกราฟิก และแดชบอร์ด ที่มีความครบถ้วนขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์กันของข้อมูลในหลายมิติที่ปรากฏในการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ ประกอบไปด้วย แผนภูมิแสดงให้เห็นการเปรียบเที่ยบปริมาณของข้อมูล กราฟแสดงให้เห็นแนวโน้มของข้อมูล ตารางแสดงให้เห็นการเปรีบเทียบเป็นส่วนแบ่ง แผนที่แสดงให้เห็นถึงความหนาแน่นของเอกสารตามสถานที่ต่าง ๆ อินโฟกราฟฟิกแสดงให้เห็นทั้งตัวเลขและข้อมูลอธิบาย และแดชบอร์ดเป็นการแสดงภาพรวมทั้งหมดของแผนภาพข้อมูล ดังนั้นการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ ช่วยให้สามารถแสดงข้อมูลในปริมาณมากและมีความซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้นทั้งยังช่วยในการรับรู้ได้ดี การสร้างภาพข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ ทำให้ข้อมูลมีความน่าสนใจขึ้น เข้าใจง่าย เห็นภาพได้ชัดเจน ง่ายต่อการจดจำ งานวิจัยฉบับนี้สามารถนำเสนอแผนภาพข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์และแบ่งประเภทการนำเสนอข้อมูลสำหรับสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดอกรัก พยัคศรี. (2566). อบรมการอนุรักษ์เอกสารโบราณเบื้องต้น และการจัดการเอกสารโบราณสู่ดิจิทัล จาก ศมส. เข้าถึงได้จาก https://culturio.sac.or.th/learning/course/31

ปิยนันท์ เสนะโห. (2563). การพัฒนาเทคโนโลยีผนวกกับการจัดการสารสนเทศ. (รายงานโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย). ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานอธิการบดี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สินีนาฎ สมบูรณ์เอนก. (2543). การจัดเก็บและให้บริการเอกสารโบราณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Academic Services Journal, 11(1), 8-19.

สุคนธ์ทิพย์ จันทะลุน. (2565). องค์ความรู้เรื่อง “ช่างล้านนา” หลักฐานจากเอกสารโบราณ. หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่. เข้าถึงได้จาก https://www.finearts.go.th/main/search?page=1832

Addepalli, L., et al. (2023). Assessing the Performance of Python Data Visualization Libraries: A Review. International Journal of Computer Engineering in Research Trends, 10(1), 28-39.

Broughton, V. (2004). Essential classification. London : Facet Publishing.

Chaisuwan, B., Kuldilok, P. & Sakuna, C. (2022). Situations, Trends, and Needs of Knowledge and Artificial Intelligence Skills for Enhancing Work Effectiveness among Working-Age People in Thailand. Academic Journal of Humanities and Social Sciences Burapha University, 30(1), 110-134.

Chernbumroong, S., et al. (2022). The Effects of Gamified Exhibition in a Physical and Online Digital Interactive Exhibition Promoting Digital Heritage and Tourism. TEM Journal, 11(4), 1520–1530.

Chutosri, T. (2021). A Visual DataPresentationwith Data Visualization. Journal of Academic Information and Technology, 2(1), 1-15.

Kasinant, C. (2016). The Effects of Using Interactive e-Learning Courseware to Enhance Digital Literacy for Undergraduate Students of Education Faculty, Thaksin University. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal (GTHJ.), 22(2), 12-24.

Khueankham, Y., et al. (2023). Knowledge Transfer on Organic Agriculture by Providing Academic Services to the Communityof Maejo University Library. PULINET Journal, 10(1), 56-67.

Konkratok, Y., Phallyand, R. & Jantakat, Y. (2023). Application of Dashboard on Power BI for Reporting Educational Fund. Journal of Learning Innovation and Technology (JLIT), 3(1), 35-46.

Kullimratchai, P. (2018). Entering into the Era of Data Science. EAU Heritage Journal Science and Technology, 12(2), 120-129.

Lertratanakehakarn, P., et al. (2018). The Development of Palm-Leaf Manuscripts Management Model in Thailand. Information, 25(1), 45-64.

Mogalakwe, M. (2006). The Use of Document Research Methods in Social Research. African Sociological Review, 10(1), 221–230.

Pajika, I. & Poompruk, C. (2022). Modifying the Document Storgage Processusing the Concept of Design Thinking to Upgrade to a Smart Office. Journal of Value Chain Management and Business Strategy, 1(2), 54-66.

Palmer, B. I. (1962). Itself an education: six lectures on classification. London : Library Association.

Phrachayanantamunee, et al. (2019). The Ascertainment and Conservational System the Ancient Scriptures Kept in Monateries and Publicizing LANNA Wisdom to Up Rise a Local Learning Source in LANNA Region. Journal of MCU Nakhondhat, 6(1), 126-145.

Potjanalawan, P. (2020). The Recently Constructed Lanna: The Social History of Upper Chao Phraya Basin (1932 - 2014 A.D.). The Journal of the Thai Khadi Research Institute, 17(2), 109-144.

Rongphon, K. (2022). Development of Online Lessons on Design, Production, and Application of Digital Technology Media for Educational Purposes by Using the Theory of Constructionism to Create the Work for Second--Year Undergraduate Students, Nakhon Si Thammarat College of Dramatics Arts. Journal of Buddhistic Sociology, 7(1), 1-14.

Sena, K., et al. (2020). The Study of the Application of Data Visualization on Facebook Fan Pages in Thailand. Journal of Research for Learning Reform 3(1) 53-66.

Thongkhaek, Y. & Deekhao, D. (2020). University Archives Dissemination Innovation: From KM to Digital Archives. PULINET Journal, 7(1), 52-63.

Tsvuura, G. (2022). Knowledge and skills for managing digital records at selected state universities in Zimbabwe. Journal of the South African Society of Archivists, 55, 110-123.