การสื่อสารทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อในจังหวัดพะเยาตามหลักพุทธธรรม

Main Article Content

พระเมธีวชิรคุณ
สมยศ ปัญญามาก
อนุวิทย์ หน่อทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการสื่อสารทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อในจังหวัดพะเยา และ 2) วิเคราะห์การสื่อสารทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อในจังหวัดพะเยาตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 กลุ่ม รวม 30 คน ใช้พื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาเป็นพื้นที่วิจัย ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อในจังหวัดพะเยามีรูปแบบหลักในการสื่อสารทางการเมือง 3 รูปแบบ คือ 1.1) การสื่อสารระหว่างบุคคล ได้สื่อสารกันในลักษณะที่ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร แลกเปลี่ยนสารกันได้โดยตรงและเป็นการสื่อสารแบบตัวต่อตัว 1.2) ช่องทางในการสื่อสาร มีช่องทางการสื่อสารทางการเมือง ซึ่งทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เช่น ผ่านวิทยุท้องถิ่น วิทยุกระจายเสียง เสียงตามสาย สื่อสิ่งพิมพ์ จดหมาย ผ่านการคุยโทรศัพท์ และผ่านสื่อออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ก ไลน์ เป็นต้น และ 1.3) สื่อสารมวลชน มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่นี้ การสื่อสารมวลชนมักเป็นการสื่อสารแบบกลุ่มหรือกลุ่มชุมชน และ 2) การสื่อสารทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อในจังหวัดพะเยาตามหลักพุทธธรรม เมื่อได้รับแรงกระตุ้นเตือนจากหลักพุทธธรรมในแง่ของมรดกทางศาสนาและความเชื่อ โดยได้นำหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้การสื่อสารทางการเมืองเกิดความถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่ หลักอคติ 4 สุจริต 3 หลักปรโตโฆสะ และหลักโยนิโสมนสิการ เป็นการส่งข้อมูลทางการเมืองด้วยความไม่ลำเอียง ประพฤติชอบด้วยกาย (กายสุจริต) ประพฤติชอบด้วยวาจา (วจีสุจริต) ประพฤติชอบด้วยใจ (มโนสุจริต) ไม่ให้ข่าวสารทางการเมืองที่บิดเบือนจากความเป็นจริง และเมื่อได้รับข่าวสารทางการเมือง จะไม่เชื่อด้วยความงมงาย ไร้เหตุผล ใช้ปัญญาในการพิจารณาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และไม่ตกลงใจเชื่อในขณะที่ได้รับสารนั้น ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยนัท สุขไชยะ. (2561). การสื่อสารทางการเมืองไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์: กรณีศึกษา เฟซบุ๊กเพจ Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ) (ช่วงเวลา 31 ตุลาคม 2565-22 พฤษภาคม 2557). (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง). วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม : มหาวิทยาลัยรังสิต.

ชาญชัย ฮวดศรี. (2558). รูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองเชิงพุทธของผู้นำชุมชนจังหวัดขอนแก่น. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระชินกร สุจิตฺโต (ทองดี). (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารทางการเมืองสำหรับประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พฤทธิสาณ ชุมพล. (2552). ระบบการเมือง: ความรู้เบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธพร อิสรชัย. (2561). การวิเคราะห์การเมืองตามแนวคิดประชาสังคมกับชุมชนนิยม ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิเคราะห์การเมือง หน่วยที่ 8. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รจิตลักขณ์ แสงอุไร. (2548). การสื่อสารของมนุษย์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชาญ จำปาขาว. (2554). การสื่อสารทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย : ศึกษากรณีการชุมนุมประท้วงหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). วิทยาลัยการสื่อสารทางการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพะเยา. (2561). สำเนาแบบรายงานข้อมูลพื้นฐานชุมชนบนพื้นที่สูงจังหวัดพะเยา. (อัดสำเนา)

Goodreads. (2020). Quotable Quote. Retrieved from https://www.goodreads.com/ quotes/183896-man-is-by-nature-a-social-animal-an-individual-who.