การบังคับใช้พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522: ศึกษากรณีการชำระเงินค่าเสื้อวินรถจักรยานยนต์รับจ้างในเขตจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ปองปรีดา ทองมาดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 กรณีการชำระเงินค่าเสื้อวินรถจักรยานยนต์รับจ้าง 2) สาเหตุของปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย 3) วิธีแก้ไขปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติ และ 4) แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมต่อการบังคับใช้กฎหมาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ให้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้าง เจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่ง และองค์การบริหารส่วนตำบลที่เกี่ยวข้อง ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกิดจากการตรวจสอบไม่ทั่วถึงของเจ้าหน้าที่รัฐ รถจักรยานยนต์รับจ้างที่ไม่เปิดเผย รถจักรยานยนต์แกร็บรับจ้าง การส่งส่วยหรือผู้มีอิทธิพล เจ้าของเสื้อวินเรียกเงินค่าเสื้อวินคืนไม่ได้ ความยินยอมของผู้ขับขี่วิน 2) สาเหตุของปัญหาเกิดจากมีการแจ้งหรือทราบก่อนเข้าตรวจสอบหรือตรวจสอบเฉพาะกรณีที่มีการร้องเรียน ผู้ขับขี่วินกับผู้รับบริการรู้จักเป็นการส่วนตัว การแย่งผู้โดยสารหรือทับเขตพื้นที่กัน กฎหมายที่ใช้บังคับแก้ปัญหาผู้มีอิทธิพลไม่ได้ มูลค่าของราคาเสื้อวินแพงขึ้น ความเกรงกลัวและเพื่อการดำรงชีพ 3) วิธีแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย เพิ่มมาตรการเชิงรุกในการปราบปรามผู้มีอิทธิพล จัดสถานที่ตั้งวินโดยหน่วยงานของรัฐ เพิ่มบทลงโทษต่อผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจเสื้อวินผิดกฎหมาย ควบคุมรถจักรยานยนต์รับจ้างทุกประเภท และ 4) แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมเจ้าหน้าที่รัฐควรบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด มีมาตรการในการป้องกันการข่มขู่หรือสร้างเงื่อนไขโดยผู้มีอิทธิพล มีมาตรการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองนิติการ กรมการขนส่งทางบก. (2547). สรุปความเป็นมาและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2547 (การควบคุมการใช้รถจักรยานยนต์รับจ้าง). เข้าถึงได้จาก http://www.tmea.or.th/Regulations/Law1.pdf.

เกรียงศักดิ์ ดวงมนตรี. (2563). มอเตอร์ไซค์รับจ้างกับการขนส่งสาธารณะในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เคลาดิโอ โซปรานเซ็ตติ. (2559). เปิดมุมมอง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง การเมืองบนท้องถนน. เข้าถึงได้จาก http://mecom226example.blogspot.com/2016/11/.

จารุวรรณ ดวงวิชัย. (2557). บันทึกท้ายพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2557. เข้าถึงได้จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt_dl_link.php?nid=1572.

ชิดชนก กันภัย. (2560). การนำนโยบายจัดระเบียบรถจักรยานยนต์สาธารณะของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ค.ส.ช) ไปปฏิบัติ กรณีศึกษาชุมชนรอบมหาวิทยาลัยรามคำแหงหัวหมาก. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฟักครูดีน ยะยอ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแกร็บคาร์ของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มานพ สุคนธ์ธนพัฒน์. (2548). การศึกษาทัศนะของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างและผู้ใช้บริการที่มีต่อผลกระทบของมาตรการจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้างในเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา). โครงการบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

เล็ก ทันพิสิทธิ์. (2559). การจัดระเบียบรถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานคร เขตจตุจักร. (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหารคณะรัฐศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานประชาสัมพันธ์ของแกร็บ. (2562). โครงการเพื่อสังคมและมาตรฐานความปลอดภัย. เข้าถึงได้จาก https: //www.grab.com/th/press/social-impact-safety/.

Amarin TV. (2562). รวบวินเถื่อนปล่อยเสื้อวินหลักแสน. เข้าถึงได้จาก https://thai.ac/news/ show/223451.

MGR ONLINE. (2562). ผ่าอาณาจักรวินมอเตอร์ไซด์ เสื้อวินทองคำกับผลประโยชน์มหาศาล. เข้าถึงได้จาก: https ://mgronline.com/daily/detail/9620000059172.

Mthai. (2562). ตำรวจตรวจจับวินจยยรับจ้างหลังโพสต์ประกาศขายเสื้อวินราคากว่าแสนบาท. เข้าถึงได้จาก https://news.mthai.com/general.news/701649.html/gallery.