การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ GPAS 5 Steps ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาประสิทธิภาพของแผนการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับทางร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ GPAS 5 Steps สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ ทั้งก่อนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับทางร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ GPAS 5 Steps สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 25 คน ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับทาง ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ GPAS 5 Steps จำนวน 8 แผนการเรียนรู้ รวมเวลา 8 ชั่วโมง และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดปรนัย 5 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับทางร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ GPAS 5 Steps สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ (E1 / E2) เท่ากับ 81.10/ 86.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ ทั้งก่อนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับทางร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ GPAS 5 Steps สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 15.08 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.52 แสดงว่าค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง 2560. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
กลุ่มงานวิชาการ โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม. (2563). สรุปผลการดำเนินการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2563. สุรินทร์ : กลุ่มงานวิชาการโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม.
ปริญญา ปั้นสุวรรณ์. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 กับแบบปกติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พงษ์สิทธิ์ พลีกร. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับรูปแบบเกมโชว์์โทรทัศน์ที่มีผลต่อการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยเพื่อการศึกษาต่อ เรื่องการสร้างคํา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 7(2), 11-19.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามแนวคิด GPAS 5 Steps เพื่อสร้างและใช้นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับครูและผู้บริหารสถานศึกษา. เข้าถึงได้จาก http://www.iadth.com/downloadfile/0001.pdf.
วันดี วิภาตนาวิน. (2549). การพัฒนาทักษะความคิดรวบยอดด้วยการสร้างแผนภูมิมโนทัศน์โดยใช้เทคนิคกลุ่มร่วมมือในการเรียนวรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ห้องเรียนกลับด้าน : ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร สังคมศึกษาปริทรรศน์, 6(2), 171-181.
สุวกุล นาคสุขมูล. (2564). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์. วารสารอักษราพิบูล, 9(1), 29-46.
อานนท์ นามลาด. (2564). นวัตวิธีการจัดการเรียนรู้เรื่อง คำราชาศัพท์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับทาง ร่วมกับแบบฝึกทักษะออนไลน์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาและวรรณกรรมไทย). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.