แนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร 2) เปรียบเทียบการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษา และ 3) หาแนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 14 คน ครูจำนวน 161 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบเลือกตอบได้มากกว่า 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพและปัญหาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร มีสภาพการการบริหารอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการบริหารทรัพยากร โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบสภาพการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่าง และ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า 3.1) ด้านบุคคลควรจัดให้มีการแนะแนวถึงวัตถุประสงค์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กร วัฒนธรรมองค์กร เน้นจรรยาบรรณของการเป็นครู 3.2) ด้านวัสดุอุปกรณ์ควรจัดให้มีการประชุมและเสนอรายชื่อแต่งตั้งคณะกรรมการให้เป็นตัวแทนในการวิเคราะห์ความจำเป็นในการจัดซื้อวัสดุ 3.3) ด้านงบประมาณควรจัดทำงบประมาณเพื่อใช้บริหารงานในส่วนที่จำเป็นเร่งด่วน 3.4) ด้านการบริหารจัดการควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่น ๆ ในการพัฒนาทางการบริหารจัดการร่วมกัน 3.5) ด้านอาคารสถานที่ควรทำบันทึกความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ในการยืมใช้อาคารสถานที่ อาคารประกอบการเพื่อจัดการศึกษาร่วมกัน 3.6) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศควรจัดให้มีศูนย์ข้อมูลสารสนเทศประจำหน่วยงานนำเทคโนโลยีมาใช้ให้ทันต่อเหตุการณ์พร้อมทั้งส่งบุคลากรเข้าร่วมการอบรมอย่างต่อเนื่อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กณวรรธน์ ลาขุมเหล็ก. (2564). สภาพและแนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
กุลนภา เถระวรรณ์. (2562). การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พันธุ์ระวี ตันตินิรันดร์. (2561). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรของสถานศึกษาโรงเรียนปาณยาพัฒนาการ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2561). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. กำแพงเพชร : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2564). ระบบติดตามและประเมินคุณภาพสถานศึกษาด้านการอาชีวศึกษาที่ส่งเสริมการประกันคุณภาพการศึกษาและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต. เข้าถึงได้จาก https://www.onesqa. or.th/upload/download/202209161543092.pdf
สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร. (2564). รายงานการประเมินตนเอง. เข้าถึงได้จาก https://www.kpt.ac.th/administrator/files/sar_8015-20220825.pdf
สุภาภรณ์ บัวจันทร์. (2561). ปัญหาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ในอำเภอวังเจ้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.