การสร้างแอปพลิเคชันเพื่อการพัฒนาการรับรู้การใช้คำปรากฏร่วมของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง

Main Article Content

สุภาวดี ในเสนา
ธิดากุล บุญรักษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความผิดพลาดของการใช้คำปรากฏร่วมของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง และ 2) พัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้พัฒนาการรับรู้การใช้คำปรากฏร่วมของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต 2) นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต และ 3) นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 60 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการใช้คำปรากฏร่วม จำนวน 45 ข้อ เป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 2) แบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชัน จำนวน 20 ข้อ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้แอพพลิเคชั่น จำนวน 20 ข้อ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความผิดพลาดของการใช้คำปรากฏร่วมของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ที่มีระดับความผิดพลาดมากที่สุด คือ คำปรากฏร่วมประเภท Noun + Preposition รองลงมา คือ คำปรากฏร่วมประเภท Adjective + Preposition และคำปรากฏร่วมประเภท Verb + Preposition มีระดับความผิดพลาดน้อยที่สุด และ 2) แอปพลิเคชันที่ใช้พัฒนาการรับรู้การใช้คำปรากฏร่วมของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีผลการประเมินคุณภาพแอปพลิเคชัน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษและด้านคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับมากที่สุด (equation= 4.05, S.D. = 0.53) โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจหลังการใช้แอปพลิเคชันเพื่อการพัฒนาการรับรู้การใช้คำปรากฏร่วมจากผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 3.94, S.D. = 0.92)

Article Details

How to Cite
ในเสนา ส. ., & บุญรักษา ธ. . (2024). การสร้างแอปพลิเคชันเพื่อการพัฒนาการรับรู้การใช้คำปรากฏร่วมของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง. วารสารวิจยวิชาการ, 7(5), 241–258. https://doi.org/10.14456/jra.2024.97
บท
บทความวิจัย

References

เนาวรัตน์ อินทรประสิทธิ์. (2556). การศึกษาการปรากฏของคำปรากฏร่วมในหนังสือนวนิยายภาษาอังกฤษ. พระนครศรีอยุธยา : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

วิทวัส ขาวประเสริฐ และคณะ. (2565). การพัฒนาการจดจําคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แอปพลิเคชัน Quizlet ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 50(3), 1-10. https://doi.org/10.14456/educu.2022.23

ฉัตร ชูชื่น, พูนทรัพย์ จันต๊ะ, พัฒนชัย กุลจันทร์, ณัฐดนัย เขียววาท. (2562). ผลการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้แอปพลิเคชันการสอนภาษาอังกฤษเลทเซินวัน ฟอร์ คิดส์ โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 7(2), 81-95.

วงศ์ วรรธนพิเชษฐ. (2556). Collocation: ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเขียนและพูดภาษาอังกฤษไม่ได้มาตรฐาน. เข้าถึงได้จาก www.dicthai.com

สุปรานี พุ้ยมอม และคณะ. (2555). การสำรวจการใช้คำปรากฏร่วม (Collocation) ในงานเขียนของผู้เรียนไทยระดับปริญญาตรี. เข้าถึงได้จาก http:// research.rmutsb.ac.th.

Ahmadi, M. R. (2018) The Use of Technology in English Language Learning. International Journal of Research in English Education (IJREE), 3(2), 115-125.

Conzett, J. (2000). Integrating collocation into a reading and writing course. In M. Lewis (Ed.), Teaching collocation: Further developments in the lexical approach. Hove, UK : Language Teaching Publications.

Hashemi, M., Azizinezhad, M. & Dravishi, S. (2012). The Investigation of collocational errors in university students’ writing majoring in English. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 31, 555-558.

Hill, J. (2001). Revising priorities: From grammatical failure to collocational success. In M. Lewis (Ed.), Teaching Collocation: Further development in the lexical approach. Oxford : Oxford University Press.

Lewis, M. (Ed.). (2001). Teaching collocation: Further development in the lexical approach. Oxford : Oxford University Press.

McCarthy, M. & O’Dell, F. (2008). English collocation in use, advanced. Cambridge : Cambridge University Press.

Nation, P. (2001). Learning vocabulary in another language. Cambridge : Cambridge University Press.

Phoocharoensil, S. (2014). Exploring learners' developing L2 collocational competence. Theory and Practice in Language Studies, 4 (12), 2533-2540. https://doi.org/10.4304/tpls.4.12.2533-2540

Rosell-Aguilar, F. (2018). Autonomous language learning through a mobile application: a user evaluation of the busuu app. Computer Assisted Language Learning, 31, 854–881.

Shamsudin, S., Sadoughvanini, S. & Zaid, Y. (2013). Iranian EFL learners’ collocational errors in speaking skill. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 70, 1295-1302. https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2013.01.190

Vygotsky, L. S. (1986). Thought and language. Cambridge, MA : MIT Press.

Woolard, G. (2001). Collocation encouraging learner independence. In M. Lewis (Ed.), Teaching collocation: Further development in the lexical approach. Hove : Language Teaching.