องค์ประกอบของสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 21 สังกัดวิทยาลัย อาชีวศึกษาของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 21 สังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีการดำเนินการใน 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 21 จำนวน 12 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร โดยการสังเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน 3) ศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาดีเด่นที่ได้รับรางวัลสถานศึกษาพระราชทาน ระดับอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จำนวน 3 วิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 คือ แบบสัมภาษณ์แบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างแบบสรุปเพื่อเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4) ยืนยันองค์ประกอบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ขั้นตอนนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเหมาะสมของพฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 21 จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการยืนยันของผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 21 สังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้ในวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม 2) การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน 3) นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และ 4) คุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2565). ปฏิรูปการศึกษาไทย. รายงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. เข้าถึงได้จาก http://www.nscr.nesdc. go.th
คุรุสภา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. เข้าถึงได้จาก http:// www.ksp.or.th
จิรกฤต รุ่งจิรโรจน์. (2560). สมรรถนะครูอาชีวศึกษาสาขาช่างอุตสาหกรรมเมคคาทรอนิกส์เพื่อรองรับ Thailand 4.0. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์. (2558). ปัญหาแรงงานไทย. เข้าถึงได้จาก http://www.dailynews co.th /content/edu.
ณัฐสิฎ รักษ์เกียรติวงศ์. (2561). การปฏิรูประบบการศึกษาไทยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน, การปฏิรูปอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
ธนกฤต อั้งน้อย. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พิชญาภา ยืนยาว และธีรวุฒิ ธาดาตันติโชติ. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบของคุณลักษณะของครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 470-480.
วรวุฒิ รามจันทร์. (2556). นวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ อย่างสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษายุคใหม่. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 30(1), 86-90.
วิไลลักษณ์ ศรีวิชัย และจิราพร ระโหฐาน. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(1), 79-91.
ศรัญญา ปานเจริญ และสุนิสา ช่อแก้ว. (2560). แนวโน้มการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2559-2569). วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 36(4), 217-224.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). มาตรฐานการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. เข้าถึงได้จากhttp://www.nesdb.go.th
สิรภัทร จันทะมงคล และคณะ. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะด้านการปฏิบัติงานหน้าที่เฉพาะสาขาครูช่างอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตามการรับรู้ของอาจารย์ผู้สอน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 12(2), 41-59.
สุกัญญา บุญศรี และคณะ. (2563). การประเมินสมรรถนะความรู้วิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรม แบบพหุมิติของนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(3), 349-369.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และจินตนา วีรเกียรติสุนทร. (2556). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
อนันต์ ปิยพงศ์ธนัชต์ และประกฤติยา ทักษิโณ. (2564). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดสมรรถนะครูมืออาชีพในยุค 4.0 สำหรับนักศึกษาครู. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 22 NGRC2021 (น. 828). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2564). สมรรถนะครูอาชีวะสายพันธุ์ใหม่ตามการรับรู้ของครูในช่วงการแพร่ระบาดโควิด 19 : กรณีศึกษา จังหวัดลพบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, 13(3), 178-190.
Goh, P.S.C. & Wong, K.T. (2014). Beginning teachers’ conceptions of competency: Implications to educational policy and teacher education in Malaysia. Education Research Policy Practice, 11(2), 65-79.
Grosch. (2017). Developing a competency standard for TVET teacher education in ASEAN countries. Jurnal pandidikan Teknology dankejuruan, 23(3), 281-287.
Helen, H. (2008). Teachers’ work: Beginning teachers’ conceptions of competence. The Australian Educational Researcher, 35(1), 125-145.
Wagiran, W., Pardjono, P., Suyanto, W. & Sofyan, H. (2019). Competencies of Future Vocational Teachers: Perspective of In-service Teachers and Educational Experts. Cakrawala Pendidikan, 38(2), 388-400.