แนวคิด Kaizen กับการพัฒนาประเทศญี่ปุ่นอย่างไม่หยุดยั้ง

Main Article Content

ธนกฤต โพธิ์เงิน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการจัดการแบบ ไคเซ็น มีอิทธิพลต่อการพัฒนาประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง พบว่า ประเทศญี่ปุ่นมีภูมิรัฐศาสตร์ที่มีส่วนทำให้คนญี่ปุ่นตื่นตัวเตรียมความพร้อมที่จะอยู่รอดท่ามกลางภูมิประเทศที่มีภัยธรรมชาติโดยเฉพาะแผ่นดินไหวและอากาศที่หนาว ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่พ่ายแพ้ สงครามโลกครั้งที่ 2 และคนญี่ปุ่นได้ใช้เป็นบทเรียนที่ต้องพัฒนาตนเองให้มีความเข้มแข็งทั้งในทางเศรษฐกิจ วิทยาการและเทคโนโลยี ภายหลังสงครามจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองจากระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์มาเป็นการเมืองระบอบประชาธิปไตย และมีการกระจายอำนาจการปกครองที่เป็นจริงทั้งในเชิงแนวคิดและการปฏิบัติให้ท้องถิ่นมีอิสระในการปกครองและพัฒนาตนเอง พื้นฐานดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันและมีอิทธิพลทำให้คนญี่ปุ่นคิดพัฒนาวิธีการจัดการวิถีชีวิตและหน้าที่การงานที่ต้องมีการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ต่อมาจึงพัฒนาแนวคิดในการปรับปรุงคุณภาพในระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องที่เรียกว่า การจัดการแบบไคเซ็น ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า วิธีคิดวิธีจัดการดังกล่าวมีส่วนอย่างสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่นจนประสบผลสำเร็จ สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และความเจริญของประเทศทั้งการดำรงชีวิต โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี ฯลฯ ที่มีมาตรฐานสูง การจัดการแบบไคเซ็นจึงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกทั้งในวงการวิชาการและการจัดการ กลายเป็นบทเรียนให้ประเทศต่าง ๆ ได้ศึกษานำไปปรับใช้ในการพัฒนาองค์กรทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ

Article Details

How to Cite
โพธิ์เงิน ธ. . (2024). แนวคิด Kaizen กับการพัฒนาประเทศญี่ปุ่นอย่างไม่หยุดยั้ง. วารสารวิจยวิชาการ, 7(5), 371–386. https://doi.org/10.14456/jra.2024.106
บท
บทความวิชาการ

References

ปธาน สุวรรณมงคล.(2554). การเมือง การบริหารท้องถิ่นเปรียบเทียบ. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2554). ระบบการเมืองเปรียบเทียบ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิกิพีเดีย. (2566). รายชื่อประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด). เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ_(ราคาตลาด)#อ้างอิง

อุดม ทุมโฆสิต. (2566). อำนาจรัฐ และการกระจายอำนาจ แนวคิด กรณีศึกษา และข้อสังเกตุ. กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

Abe, E. & Fitzgerald, R. (1995). Japanese economic success: Timing, culture, and organizational capability. Business History, 73(2), 1-31.

Barnwell, N. (2007). Japanese management: Its emergence into Western consciousness and its long-term impact. University of Technology, Sydney. Retrieved from http://ehsanz.econ. usyd.edu.au/ papers/Barnwell.pdf

Bessant, J., Caffyn, S. & Gallagher, M. (2001). An evolutionary model of continuous improvement behaviour. Technovation, 21(2), 67-77.

Brunet, A. P. & New, S. (2003). Kaizen in Japan: An empirical study. International Journal of Operations & Production Management, 23(12), 1426-1446.

Drucker, P. (1971). What We Can Learn from Japanese Management. Harvard Business Review, 49(2), 1-11.

Evans, G & Newnham, J., (1998). The Penguin Dictionary of International relations. London, UK. : Penguin Books.

Huntzinger, J. (2002). The roots of lean training within industry-The origin of Japanese management and kaizen. AME, 18(1), 1-13.

Kono, T. (1982). Japanese management philosophy-Can it be exported?. Long Range Planning, 15(3), 90-102.