การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3

Main Article Content

เสาวลักษณ์ จีนเมือง
จิรศักดิ์ แซ่โค้ว
ญาณิศา บุญจิตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูด้าน ICT 2) สร้างชุดพัฒนาสมรรถนะครูด้านการใช้ ICT และ 3) ประเมินสมรรถนะครูด้านการใช้ ICT เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนขยายโอกาส เป็นการวิจัยและพัฒนา มี 3 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูด้านการใช้ ICT กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 234 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .90 ขั้นที่ 2 สร้างชุดพัฒนาสมรรถนะครูด้านการใช้ ICT ตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน โดยใช้แบบตรวจสอบความเหมาะสมของชุดพัฒนาสมรรถนะครู และขั้นที่ 3 ประเมินสมรรถนะครูด้านการใช้ ICT กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินสมรรถนะครูด้านการใช้ ICT มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีค่าความต้องการจำเป็นด้านการประยุกต์ใช้ ICT ในการจัดการเรียนรู้มากที่สุด มีค่า PNImodified = 0.88 2) ชุดพัฒนาสมรรถนะครูด้านการใช้ ICT มี 4 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 ความรู้พื้นฐานด้าน ICT ชุดที่ 2 การรู้เท่าทัน ICT ชุดที่ 3 การประยุกต์ใช้ ICT ในการจัดการเรียนรู้ และชุดที่ 4 คุณธรรม จรรยาบรรณในการใช้ ICT ซึ่งความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพโดยรวม E1/E2 เท่ากับ 83.98/86.09 และ 3) ผลการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการใช้ ICT พบว่า ครูมีสมรรถนะด้านการใช้การใช้ ICT หลังการเข้ารับการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
จีนเมือง เ. ., แซ่โค้ว จ. ., & บุญจิตร์ ญ. . (2024). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารวิจยวิชาการ, 7(5), 207–224. https://doi.org/10.14456/jra.2024.95
บท
บทความวิจัย

References

กมลพร เพชรกาฬ. (2563). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). รายงานการวิจัยสถานภาพการใช้ ICT ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2. กรุงเทพฯ : ศูนย์ปฏิบัติการ กระทรวงศึกษาธิการ.

รังสิญา ช่อผูก. (2565, 20 มีนาคม). สภาพปัญหาการใช้ ICT ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอเวียงสระ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (เสาวลักษณ์ จีนเมือง, ผู้สัมภาษณ์)

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การเรียนรู้ของผู้เรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Learning). กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานกระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563-2565. เข้าถึงได้จาก https:// bict.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/03/digital-63-65.pdf

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (2565). รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ประจำปีการศึกษา 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.surat3.go.th/?page_id=3545

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). เอกสารหลักสูตรอบรมแบบ e-Training หลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานและสมรรถนะหลักสำหรับผู้บริหาร. เข้าถึงได้จาก https://www.esbuy.net/_files_school/00000883/document/ 0000 0883_0_20160920-175058.pdf/

สุวรรณี ยหะกร. (2561). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง การพูด และการอ่านในวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารนานาชาติมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(2), 89-107.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์. (2553). สมรรถนะการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพ ฯ : เอช อาร์ เซนเตอร์.

Islam, N. (2016). E-learning system use and its outcomes: Moderating role of perceived compatibility. Telematics and Informatics, 33, 48-55.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.