ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

Main Article Content

ฐาน กุลจิรมากันต์
อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์
ปวินี ไพรทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติ แนวคิด และหลักการเกี่ยวกับปัญหาการตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2) ศึกษาการตัดมิให้รับมรดกตามกฎหมายของไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ญี่ปุ่น เครือรัฐออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายการตัดมิให้รับมรดกของต่างประเทศว่าเหมือนหรือต่างจากกฎหมายไทยอย่างไร และ 4) เสนอแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายไทย กรณีการตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร โดยการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ ตำรา บทความ คำบรรยาย ตัวบทกฎหมาย งานวิจัย ตัวอย่างคดี รวมทั้งข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตทั้งของไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง การสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยทฤษฎีเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) กฎหมายไทยบัญญัติให้เจ้ามรดกมีสิทธิตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก ส่งผลให้ทายาทโดยธรรมและผู้สืบสันดานเสียสิทธิในการรับมรดกโดยสิ้นเชิง และเป็นการตัดตลอดทั้งสาย ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ทายาทโดยธรรมบางลำดับและคู่สมรส 2) กฎหมายไทยให้เสรีภาพแก่เจ้ามรดกในการตัดทายาทโดยธรรมไม่ให้รับมรดกได้ทั้งหมดโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดสัดส่วนมรดกที่ต้องกันไว้ให้แก่ทายาทโดยธรรม โดยต่างจากกฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ญี่ปุ่น เครือรัฐออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติกำหนดสัดส่วนมรดกที่ต้องกันไว้ให้แก่ทายาทโดยธรรมทั้งสิ้น 3) กฎหมายไทยไม่มีบทบัญญัติการกันส่วนทรัพย์มรดกและกำหนดส่วนแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมบางลำดับและคู่สมรสไว้ซึ่งต่างจาก และ 4 ประเทศที่เปรียบเทียบ และ 4) ประเทศไทยควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยให้ความคุ้มครองแก่ทายาทโดยธรรมบางลำดับและคู่สมรส

Article Details

How to Cite
กุลจิรมากันต์ ฐ. ., มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์ อ. ., & ไพรทอง ป. . (2024). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. วารสารวิจยวิชาการ, 7(5), 59–78. https://doi.org/10.14456/jra.2024.87
บท
บทความวิจัย

References

กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา. (2513ก). คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2488. เข้าถึงได้จาก https://deka.in.th/view-83932.html

กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา. (2513ข). คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2542. เข้าถึงได้จาก https://deka.in.th/view-24876.html

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2535). คำอธิบายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ: รัฐธรรมนูญเยอรมัน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

ปิยฉัตร ศักดิ์ศรีเวชกุล. (2551). การทำพินัยกรรม: ศึกษากรณีการกันส่วนมรดกให้แก่ทายาทโดยธรรม. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). คณะนิติศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปุญญิศา สิชฌรังษี. (2556). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการสืบมรดกตามมาตรา 1607. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). คณะนิติศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศนันท์กรณ์ (จำปี) โสตพันธ์. (2549). คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

สมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์. (2561). ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์. กรุงเทพฯ : เจริญรัตน์การพิมพ์.

สุนทร มณีสวัสดิ์. (2557) เรื่องสิทธิทางหนี้. ใน เอกสารประกอบคำบรรยายบทสอนวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์. กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้. (2566). หลักศิลาจารึก (จำลอง). เข้าถึงได้จาก http://www.tabtai.go.th/site/index.php?

option=com_content&view=article&id=796:2020-05-05-02-34-41&catid=74:2020-05-01-01-45-59&Itemid=129.

LawEuro. (2021). Division 5. Compulsory share (Section 2303-2338). Retrieved from: https://laweuro.com/?p=15616.

Ministry of Justice, Japan. (2023a). Article 1028 The Japanese Civil Code. Retrieved from: https://www.japaneselawtranslation.go.jp/en/laws/view/4275#je_ pt 2ch8at1

Ministry of Justice, Japan. (2023b). Article 1030 The Japanese Civil Code. Retrieved from: https://www.japaneselawtranslation.go.jp/en/laws/view/4275#je_pt 2ch8at3

NOLO. (2023b). Inheritance Rights. Retrieved from: https://www.nolo.com/legal-encyclopedia/inheritance-rights-29607.html

NOLO. (2023d). Wills FAQ. Retrieved from: https://www.nolo.com/legal-encyclopedia/wills-faq.html

Solicitor Advice. (2023). contesting a legal will. Retrieved from: https://www.solicitoradvice.com/contest-will.htm

US Legal. (2023a). Disinheriting. Retrieved from: https://wills.uslegal.com/wills-overview/disinheriting/