การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร และ 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 393 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยค่าสถิติ ค่า t-test และ F-test ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลคลองมะเดื่อ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =3.29) รองลงมาคือ ด้านวิเคราะห์ศักยภาพและสภาพปัญหา ( =3.22) ด้านกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ( =3.20) และด้านกำหนดโครงการ/กิจกรรม ( =3.22) ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบ ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ชนดล ทรงเดชธรานันท์. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ในเขตเทศบาลอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. (การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกริก.
ณัฐภัสสร ธนาบวรพาณิชย์ และพิศมัย จารุจิตติพันธ์. (2565). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia, 28(3), 49-66.
ตรียากานต์ พรมคำ. (2563). การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารชุมชนวิจัย, 14(4), 52-53. DOI: https://doi.org /10.14456/nrru-rdi.2020.65
ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ และคณะ. (2566). เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 14(1), 169-179.
ภูษิต แจ่มศรี และอนุรัตน์ อนันทนาธร. (2566). ปัญหา ข้อจากัด และแนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 15(1), 123-139.
ศราวุฒิ ทับผดุง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยครัวเรือนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ และเพียงตะวัน พลอาจ. (2562). การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการขยะครบวงจรด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สมพงษ์ แก้วประยูร. (2558). ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุกันยา บัวลาด. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York : Harper. & Row.