แนวทางพัฒนาการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในเขตชายแดนไทย-เมียนมา กลุ่มโรงเรียนพบพระ-วาเล่ย์-รวมไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหา 2) เปรียบเทียบสภาพและ 3) หาแนวทางพัฒนาการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในเขตชายแดนไทย-เมียนมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูจำนวน 175 คน ผู้ให้ข้อมูลเพื่อหาแนวทางเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แจกแจงความถี่ จัดลำดับ ค่าการทดสอบที ค่าเอฟเทส และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพและปัญหาการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในเขตชายแดนไทย-เมียนมา มีสภาพการบริหารด้านภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และปัญหาข้อที่มีค่าร้อยละมากสุดคือ สถานศึกษาได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงบริบทแต่ขาดการประเมิน 2) การเปรียบเทียบสภาพการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในเขตชายแดนไทย-เมียนมา จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่าง 3) แนวทางพัฒนาการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในเขตชายแดนไทย-เมียนมา พบว่า ด้านภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ ผู้บริหารควรให้หน่วยงานภายในและภายนอกมีส่วนร่วมในการประเมิน ด้านภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ ผู้บริหารและครูควรมีการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียน ด้านภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ สถานศึกษาต้องมีการจัดกิจกรรมในการสร้างจิตสำนึก ด้านภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ ผู้บริหารและครูควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย. (2565). แผนยุทธศาสตร์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2567-2570. เข้าถึงได้จาก http://policy.disaster.go.th/cmsdetail
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการจัดการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. เข้าถึงได้จาก https://www.kruachieve.com
กลุ่มโรงเรียนพบพระ-วาเล่ย-รวมไทย. (2565). รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนพบพระ-วาเล่ย์ รวมไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. (อัดสำเนา)
ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561- 2580. (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเษกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก, หน้า 1-74.
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2558). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 4(1), 1-18.
ศูนย์ราชการจังหวัดตาก. (2566). อำเภอพบพระ. เข้าถึงได้จาก http://web.tak.go.th
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. (2565). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565 ตามแผนปฏิบัติการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. เข้าถึงได้จาก http://www.takesa2.go.th
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. (2566). แผนพัฒนาการศึกษา. เข้าถึงได้จาก http://www.takesa2.go.th
สุชีรา ใจหวัง. (2561). การจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒน์, 15(28), 50-61.
สุพรรณี จันทร์งาม และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 5(9), 1-14.
อาทิตย์ ธรรมแสน และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2565). การพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนสรรพวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 16(2), 1-16.