การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบูรณาการเรียนรู้วิชาพุทธศาสนาด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 2) สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาที่บูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 5 คน ได้มาจากการการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม โดยใช้สถิติร้อยละในการวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 มีภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ สิม คะลำ ผ้าผะเหวด ขันหมากเบ็งและการแปรรูปปลา สามารถนำเอาองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการแบบสหวิทยาการกับหลักสูตรสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมระดับห้องเรียน 2) นวัตกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านกระบวนการ SAAOL ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 สำรวจระบบนิเวศวิทยาการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 รวบรวมผลการสำรวจระบบนิเวศวิทยาการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ความเชื่อมโยงระบบนิเวศวิทยาการเรียนรู้ ขั้นที่ 4 สร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้หลากมิติ และขั้นที่ 5 เชื่อมโยงผลลัพธ์นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สู่วิถีชีวิต ทำให้เกิดความพึงพอใจของครูต่อผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมที่มีคุณค่าและความหมายต่อผู้เรียน ระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
คิด วรุณดี. (2557). ความเชื่อเรื่องขันหมากเบ็งในวัฒนธรรมชาวอีสาน. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : วิทยาเขตหนองคาย.
ดำริ บุญชู. (2548). การใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา. วารสารวิชาการ, 8(1), 27-32.
ธมตญา นาเมืองรักษ์. (2560). แนวทางการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดำเนินงานของโรงเรียนท่าคันโทวิทยาคารอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นงนุช ภู่มาลี. (2558). จิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างพื้นบ้านในเขตอีสานกลาง. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระครูสังฆรักษ์วิวัฒน์. (2554). วิเคราะห์หลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในคะลำอีสาน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาพิสิฐ วิสิฏฐปญฺโญ และคณะ. (2563). แนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่มีต่อสถาปัตยกรรมของสิมอีสาน. Journal of Buddhist Education and Research, 6(2), 15-26.
ศรีจันทรัตน์ กันทะวัง. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวการสอนเชิงประสบการณ์โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 8(1), 48-66.
สายฝน แสนใจพรม. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยของครูที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 22(1), 133-148.