รูปแบบการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ในการส่งเสริมอาชีพปลูกมันหวานญี่ปุ่นของเกษตรกรในเขตเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นไปได้และความต้องการประยุกต์ ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ 2) ศึกษาการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ และ 3) ประเมินรูปแบบการประยุกต์ใช้รูปแบบเศรษฐกิจใหม่ในการส่งเสริมอาชีพปลูกมันหวานญี่ปุ่นของเกษตรกรในเขตเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1) การแจกแบบสอบถามกับประชากรที่ใช้ในการวิจัยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกร จำนวน 400 คน 2) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 30 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุป และ 3) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านที่เศรษฐกิจ และการเพาะปลูกมันหวานญี่ปุ่น จำนวน 30 คน ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้รูปแบบเศรษฐกิจใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเศรษฐกิจสีเขียว ( = 4.03, S.D. = 0.74) ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ ( = 3.80, S.D. = 0.86) ส่วนความต้องการในการประยุกต์ใช้รูปแบบเศรษฐกิจใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเศรษฐกิจสีเขียว ( = 4.11, S.D. = 0.73) เมื่อพิจารณารายด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ ( = 3.82, S.D. = 0.80) 2) การประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ มี 3 รูปแบบ ดังนี้ ด้านการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสีเขียว ด้านการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียน ด้านการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจชีวภาพ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ขอบข่ายการพัฒนา กลวิธีการพัฒนา และวิธีการประเมิน และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ในการส่งเสริมอาชีพปลูกมันหวานญี่ปุ่นของเกษตรกรในเขตเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ภาพรวมทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากทุกด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินที่มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไปทุกด้าน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2565). แนวทางการขับเคลื่อน การส่งเสริมการเกษตรด้วย BCG Model แบบบูรณาการเชิงพื้นที่. เข้าถึงได้จาก https://d29iw4c1csrw3q.cloudfront.net/ wpcontent/uploads/2023/02/แนวทางขับเคลื่อน-BCG-Model-กสก_30มิย65.pdf.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570. กรุงเทพฯ : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). เดินหน้าขับเคลื่อน BCG Model ภาคเกษตร. เข้าถึงได้จาก https://www.moac.go.th/news-preview-431391792045.
ทัพไท หน่อสุวรรณ และคณะ. (2563). การเกษตรในเมืองกับ BCG Economic Model. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 38(3), 100-116.
พิชญา วิทูรกิจจา. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2(3), 1-14.
ศิริพรรณ จีนะบุญเรือง. (2565). การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Economy กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดอยตุงธัญพืช. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 13(2), 48-65.
สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ. (2564). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2566). โมเดลเศรษฐกิจใหม่“BCG” คืออะไร?. เข้าถึงได้จาก https://www.opsmoac.go.th/km-km_article-files-431491791792.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2563). BCG in Action : สาขาเกษตร. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2565). โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG. เข้าถึง ได้จาก https://www.bcg.in.th/data-center/articles/bcg-by-nstda/.
สิรวิชญ์ ปิ่นคำ. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์มันเทศญี่ปุ่นของชุมชนท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 11(1), 11-20.
อรอมล หล้าสกุล. (2566). BCG Economy E-San Model เศรษฐกิจและนวัตกรรมอย่างยั่งยืน. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 10(2), 601-618.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.