การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับพระภิกษุสามเณร

Main Article Content

พระนพดล สุทฺธิธมฺโม (มูลทาดี)
พระปลัดวุฒิพงษ์ กิตฺติวณฺโณ (ผลไม้)
พระปลัดเมธี เขมปญฺโญ (สอนวันดี)

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับพระภิกษุสามเณรผลการศึกษา พบว่า ภาษาอังกฤษมีความสำคัญต่อการสื่อสารตั้งแต่อดีตจนถึงยุคปัจจุบันเพราะว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในทางการศึกษาและการประกอบอาชีพ เพื่อเป็นสื่อและเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของโลกที่มีความหลากหลาย ซึ่งจะสร้างสันติสุขและมิตรภาพสู่ประเทศต่าง ๆ นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความตระหนักถึงความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม สังคมการปกครอง การเมืองและเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ง่ายและมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตดีขึ้น ด้วยบทบาทหน้าที่ของวัดในปัจจุบันที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทประวัติศาสตร์โบราณวัตถุสถานและศาสนานั้น พระสงฆ์และสามเณรที่อยู่ในวัดที่เป็นแหล่งการท่องเที่ยวเหล่านี้จึงต้องมีการปรับตัวโดยเฉพาะความรู้ด้านภาษาอังกฤษที่จะใช้เป็นสื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือมากกว่ามัคคุเทศก์ทั่ว ๆ ไป และยังสร้างภาพที่ดีให้กับวัด ตลอดถึงประเทศชาติและพระพุทธศาสนา

Article Details

How to Cite
พระนพดล สุทฺธิธมฺโม (มูลทาดี), พระปลัดวุฒิพงษ์ กิตฺติวณฺโณ (ผลไม้), & พระปลัดเมธี เขมปญฺโญ (สอนวันดี). (2025). การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับพระภิกษุสามเณร. วารสารวิจยวิชาการ, 8(2), 315–330. https://doi.org/10.14456/jra.2025.47
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ปิยพงษ์ พรมนนท์. (2558). การศึกษาพัฒนาการความสามารถในการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา รูปแบบที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาคิน แจ้งกิจ. (2564). การพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบ DR-TA ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นสมองเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วีรยุทธ พงษ์ศิริ. (2560). รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนากับชาวต่างชาติของพระสงฆ์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวารสารพุทธศาสตร์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 8(2), 34-43.

สันติ เล็กสุขุม. (2538). ศิลปะภาคเหนือ: หริภุญชัย-ล้านนา. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

สุจิณณา พานิชกุล.(2549). บทบาทของพระสงฆ์ต่อการท่องเที่ยว : กรณีศึกษากิจกรรมการสนทนาระหว่าง พระสงฆ์กับนักท่องเที่ยว. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรศักดิ์ ศิลาวรรณา. (2550). การท่องเที่ยวและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา บทบาทของวัดในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาวัดบวรนิเวศวิหารและวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม. (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต). วิทยาลัยศาสนศึกษา : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุวรรณา มีวัฒนะ. (2554). การศึกษาความสามรถในการปฏิบัติอย่างอิสระตามตารางกิจกรรมของเด็กปถมวัยที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยโดยใช้ตารางกิจกรรมที่มีภาพประกอบร่วมกับเบี้ยอรรถกร. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.