ผลของการใช้รูปแบบการสอนเขียน GENIE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

วรินทร เส็งสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนเขียน GENIE Model และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนเขียน GENIE Model กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 33 คน ที่กำลังศึกษาในรายวิชาภาษาอังกฤษ 5 ภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 33 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนเขียน GENIE Model แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนเขียน GENIE Model ระยะเวลาในการทดลองใช้รูปแบบการสอนเขียนรวม 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง โดยชั่วโมงแรกและชั่วโมงสุดท้ายเป็นการทดสอบนักเรียนก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test) รวมทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนเขียน GENIE Model (gif.latex?\bar{X} = 14.58, S.D. = 1.75) สูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\bar{X} = 11.13, S.D. = 1.59) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนเขียน GENIE Model อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.43, S.D. = 0.94)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญตา มากมูล. (2555). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยแผนผังความคิด (Mind Mapping). (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนครพนม.

ณัฐชยา สมมาศเดชสกุล, นงคราญ อนุกูล, วิรัช พิมพา และสุจรรยา สมบัติธีระ. (2565). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน โดยใช้แนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 355-368.

ปาริฉัตร พินิจวิญญูภาพ และกชกร ธิปัตดี. (2563). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษด้วยการเขียนแบบเน้นกระบวนการสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Journal of Roi Et Rajabhat University, 14(2), 105-113.

วารุณี สุขชูเจริญกิจ. (2556). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้แผนผังความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สมัย อินอร่าม. (2561). รายงานผลการสอบ O-NET ระดับเครือข่ายการประชุมสามัญประจำปี พ.ศ. 2560 เครือข่ายที่ 10 เขื่องใน 3 ครั้งที่ 6. 10 มกราคม 2561. อุบลราชธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1.

สิริพร ศรีแก้ว. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ B-SLIM Model ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Abata, F. & Cando, K. (2019). Teaching writing to children: product and process approach, A DUAL METHOD. In 11th International Conference on Education and New Learning Technologies (pp. 7560-7566). Palma, Spain : IATED Academy. doi: 10.21125/edulearn.2019.1821

Agustiana, V. (2016). Combining Product and Process-based approaches to teaching writing discussion texts. English Review Journal of English Education, 4(2), 195-208. DOI:10.25134/erjee.v4i2.334

Best, J.W. (1997). Research in Education. (3rd ed). New Jersey : Prentice Hall Inc.

Brown, D.H. (2000). To language pedagogy. California : San Francisco State University.

Raimes, A. (1983). Techniques in Teaching Writing. New York : Oxford University Press.