การพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เข้าใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนและบุคคลทั่วไปที่เข้าใช้การพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร เปรียบเทียบจากตาราง Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 5% จำนวน 222 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มโดยบังเอิญ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) สื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร 2) หน้าเพจเว็บไซต์เพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพของสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ประกอบด้วย 1.1) ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาของสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่า อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก ( = 4.77, S.D.=0.29) และ 1.2) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อของสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่า อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก ( = 4.75, S.D.=0.43) และ 2) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เข้าใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรีมหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่า อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก ( = 4.52, S.D.=0.61)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
จงรัก เทศนา. (2565). อินโฟกราฟิกส์ (Infographics). เข้าถึงได้จาก ww.krujongrak.com/ infographics/infographics_information.pdf.
เจนจิรา อนันตกาล. (2548). การศึกษารูปแบบโฮมเพจเว็บไซต์ทางด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ลักษณา สตะเวทิน. (2554). ความสำคัญของสื่อที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์. เข้าถึงได้จาก http://lib.vu.ac.th/ULIB/dublin.php?ID=7524
วรัชญ์ ครุจิต. (2555). คู่มือการประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วันวิสาข์ ภักดีศรี. (2563). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของเมืองอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา หมู่บ้านโพนสูง ต.หมื่นไวย จ.นครราชสีมา. (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2552). การสื่อสารความเสี่ยง-การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมการสื่อสารในองค์กร. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกนฤน บางท่าไม้. (2555). หลักการประชาสัมพันธ์ เอกสารคําสอนวิชา 468208 ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.