วิธีการพึ่งพระรัตนตรัยในชีวิตประจำวัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการพึ่งพระรัตนตรัยในชีวิตประจำวัน โดยวิเคราะห์ความหมายและลักษณะเด่นของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งชาวพุทธถือเป็นสรณะอันประเสริฐ มีคุณค่ามากกว่าสิ่งมีค่าใด ๆ และมีอิทธิพลทั้งในชีวิตประจำวันและพิธีกรรมทางศาสนา การพึ่งพาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์มีหลายลักษณะ บางครั้งในยามทุกข์ บางครั้งในยามสุข เมื่อรู้สึกกลัว เหงา หรือไม่มีที่พักใจ ชาวพุทธจะหันไปพึ่งพิง บางครั้งในยามที่มีความสุขก็จะไปวัด ฟังธรรม หรือร่วมพิธีเวียนเทียนประทักษิณ ซึ่งสอดคล้องกับยุคพุทธกาลที่มีการพึ่งพาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ตลอดชีวิต เมื่อชาวพุทธดำรงชีวิตด้วยความรู้ ความตื่น และความเบิกบาน ที่เปี่ยมไปด้วยกรุณา ความบริสุทธิ์ และปัญญา ชีวิตจะสว่างไสวไม่มืดมน การพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ตามหลักพระพุทธศาสนาใช้วิธีอาศัยความรู้ที่ได้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และจิต เรียกว่า ความรู้จากอายตนะ 6 การน้อมนำพระรัตนตรัย มาเป็นที่พึ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น ในยามกิน ยามนอน ยามออกจากบ้าน หรือเมื่อเผชิญภัยหรือวิกฤต เป็นการสร้างกุศลธรรมที่แสดงถึงศรัทธา ความเลื่อมใส และความเคารพ ซึ่งจะนำไปสู่การละกิเลสได้ในที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต). (2532). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺจิตโต). (2553). วิธีบรุณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พุทธธรรม ฉบับขยายความ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ประยุตโต). (2554). มองวันวิสาขบูชา หยั่งถึงอารยธรรมโลก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปทุมุตฺตโร). (2540). ประวัติความงมงายเลิกเชื่อไร้เหตุผล พึ่งตนเอง และพึ่งธรรมะ. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.
พระไพศาล วิสาโล. (2542). พระธรรมปิฎกกับอนาคตของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : บริษัทธรรมสาร จำกัด.
พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ). (2542). ศาสนทายาทคุณภาพ. กรุงเทพฯ : พรศิวการพิมพ์.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อัปสรา. (2559). ศาสนาของไอน์สไตน์คือพุทธะ. กรุงเทพฯ : บริษัท ส. เอเชียเพรส (1989)จำกัด.