การพัฒนาสื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง รำวงมาตรฐาน

Main Article Content

ประวิทย์ ฤทธิบูลย์
มาโนช บุญทองเล็ก
อาทิตยา เงินแดง
นงนภัส สุขสบาย
ภัณฑิลา ทองประดับ
วิลาสินี ม่วงเจริญ
สันติสุข พลศรี

บทคัดย่อ

ทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค เรื่อง รำวงมาตรฐาน 2) ทดลองและหาประสิทธิภาพสื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการประยุกต์ใช้สื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 24 คน โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ใช้การวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ซึ่งลักษณะภายในกลุ่มตัวอย่างมีความคล้ายคลึงกัน โดยใช้หน่วยสุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย สื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค เรื่อง รำวงมาตรฐาน แบบประเมินคุณภาพสื่อ แบบประเมินความพึงพอใจ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาสื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค เรื่อง รำวงมาตรฐาน ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญประกอบด้วย ประวัติความเป็นมา รูปแบบการแสดง เครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี เนื้อร้อง และท่ารำจากการพิจารณาค่าความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าความสอดคล้องกัน โดยมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพสื่อ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 86.90/90.85 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการใช้สื่ออินเตอร์แอคทีฟบุ๊ค การทดสอบก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.58 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.98 การทดสอบหลังเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.17 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.41 ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.93 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46 อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตติพล อำพร, ณัฐณิชา เที่ยงพูนวงศ์, ณัฐธิดา เสือพิทักษ์, ตรีรัตน์ โพธิโรจน์, ธนพร ห้องดอกไม้ และสุทธิดา สุขเกษม. (2564). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR BOOK) เรื่อง วิวัฒนาการนาฏศิลป์การละครไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ, 5(2), 136-148.

ดุสิต ขาวเหลือง และอภิชาติ อนุกูลเวช. (2562). การวิจัยการพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(3), 16-29.

ปิยภัทร โกษาพันธุ์ และภัทรกิติ ไชยสิงห์. (2563). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบตอบสนองสำหรับเด็กปฐมวัยด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11(2), 15-26.

พรทิพย์ ปริยวาทิต และวิชัย นภาพงศ์. (2559). ผลของการใช้บทเรียน Augmented Reality Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดตานีนรสโมสร. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 27(1), 9-17.

พิชญาภา ยืนยาว และณัฐวรรณ พุ่มดียิ่ง. (2560). รูปแบบการเรียนการสอนแบบบันเทิงของนักศึกษามหาวิทยาราชภัฏนครปฐม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(3), 904-920.

ภาสกร เรืองรอง และคณะ. (2557). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(พิเศษ), 195-205.

ศุภชัย มาลาศิลป์. (2563). การพัฒนาสื่อประสม (multimedia) เรื่อง พัฒนาการของมนุษย์ รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 43(4), 46-59.

ศุภรัตน์ โสดาจันทร์, ทะนงศักดิ์ โสวจัสสตากุล และศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี. (2563). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง งานช่างภายในบ้าน ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), 30-39.