การสร้างสื่อเพื่อส่งเสริมทักษะฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ กรณีศึกษานักศึกษาครูสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Main Article Content

ขวัญดาว ปิ่นทองพันธุ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การสร้างสื่อเพื่อส่งเสริมทักษะฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ และ 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อสื่อด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ใช้ในการเลือกและติดตามการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสังคมศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาที่ลงทะเบียนภาคเรียนที่ 2/2564 ในรายวิชาการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา และรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูภาคเรียนที่ 1/2565 จำนวน 27 คน และอาจารย์นิเทศ 6 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินสื่อส่งเสริมทักษะฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินสื่อส่งเสริมทักษะฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ด้านการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มีความน่าเชื่อถือความแม่นยำด้านระยะทาง การจัดแบ่งโซนการนิเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.59, S.D. = 0.62) 2) ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อการสร้างสื่อด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สามารถนำไปใช้ประโยชน์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความพึงพอใจมากสุดเท่ากับ (gif.latex?\bar{X} = 4.63)

Article Details

How to Cite
ปิ่นทองพันธุ์ ข. . (2025). การสร้างสื่อเพื่อส่งเสริมทักษะฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ กรณีศึกษานักศึกษาครูสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา . วารสารวิจยวิชาการ, 8(2), 69–82. https://doi.org/10.14456/jra.2025.32
บท
บทความวิจัย

References

จินดา แซ่จึง. (2563). พัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการศึกษา (GIS). (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2546). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เทพเนรมิตการพิมพ์.

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). เอกสารคำสอนเรื่องรายวิชา 468 301 การเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน. นครปฐม : ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2555). การวัดและประเมินผลการศึกษา ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

พรรณี ชีวินศิริวัฒน์. (2561). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : หลักการและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนัส สุวรรณ. (2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สรรค์ใจ กลิ่นดาว. (2555). แนวคิดและวิธีการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

เอกพล ฉิ้มพงษ์. (2553). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ประจวบคีรีขันธ์ : สำนักชลประทานที่ 14 กรมชลประทาน.