วิเคราะห์แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เพื่อพัฒนาการเมืองไทย

Main Article Content

ก้องภพ เอี่ยมสมบูรณ์
เกษฎา ผาทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดทางการเมืองของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) 2) วิเคราะห์แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เพื่อพัฒนาการเมืองไทย และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการเมืองไทยจากแนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 22 รูป/คน ได้แก่ พระภิกษุจำนวน 3 รูป นักวิชาการจำนวน 3 คน อุบาสก จำนวน 6 คน อุบาสิกา จำนวน 6 คน ประชาชนทั่วไปที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จำนวน 4 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท สรุปการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาแนวคิดทางการเมืองของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นแนวความคิดที่มีคุณค่าทางด้านจิตใจ ระบบการเมืองใดก็ได้ถ้าหากประกอบด้วยธรรมแล้ว ถือว่าเป็นรูปแบบการเมืองที่ดีที่สุดในทัศนะของท่าน และแนวความคิดทางการเมืองแบบ “ธรรมิกสังคมนิยม” คือ สังคมที่มีธรรมะหรือความถูกต้อง มีอิสรภาพหรือความสงบสุข 2) ผลการวิเคราะห์แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เพื่อพัฒนาการเมืองไทย พบว่า เหตุการณ์ทางการเมืองมีบริบทการพัฒนาเกิดจากค่านิยม ทัศนคติ วิถีชีวิตการเข้ามาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจหรือผู้มีเงิน จึงทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งด้านทัศนคติ ผลประโยชน์ การแย่งชิงอำนาจ แนวทางการพัฒนาควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ส่งเสริมความเสมอภาค สร้างภูมิความรู้ให้กับประชาชนควบคู่กับการพัฒนาการเมือง และ 3) การวิเคราะห์แนวคิดของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เพื่อพัฒนาการเมืองไทย พบว่า การพัฒนาประชาธิปไตยของไทยโดยการจัดระบบการเมืองให้ถูกต้อง คือ ตั้งอยู่บนฐานของธรรมะ พัฒนาระบบศีลธรรม โดยอาศัยธรรมะเป็นหลักในการดำเนินชีวิต การพัฒนาจิตใจ ไม่ให้เป็นทางวัตถุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เด่นพงษ์ แสนคำ. (2560). พุทธศาสนากับมโนทัศน์ทางการเมืองสมัยใหม่:อิทธิพลแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของพุทธทาสภิกขุ. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 2(1), 153-176

ธัญญาภรณ์ จันทรเวช และโกวิทย์ พวงงาม. (2564). โครงสร้างบทบาทและความเข้มแข็งคณะทำงานเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัดในฐานะกลไกการเมืองภาคพลเมือง. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 29(1), 210-250.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2565). ปรัชญากับวิถีชีวิต. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

พระครูอุปกิตปริยัติโสภณ (สุข อุปการะ). (2565). พระพุทธศาสนากับการเมือง. วารสารนิตยสารเสียงธรรมจากมหายาน, 8(1), 1-17.

พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร (อะซิ่ม). (2566). ความสัมพันธ์พระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครองไทย. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(1), 1-14.

พระเมธาวินัยรส (สุเทพ พุทธจรรยา). (2563). การเมืองภาคพลเมือง: การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 3(2), 67-72.

พระอโณทัย กตปุญฺโญ, เติมศักดิ์ ทองอินทร์ และธัชชนันท์ อิศรเดช. (2564). การส่งเสริมจิตสำนึกการเมืองภาคพลเมืองเพื่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ของประชาชน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 47-58.

วีระศักดิ์ บุญญดิษฐ์. (2562). การเมืองการปกครองของไทยกับพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬาตานี ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 1(1), 53-61.

สุรพศ ทวีศักดิ์. (2562). ธรรมโลกวิสัย สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย. Journal of Human Rights and Peace Studies, 3(2), 35–56.