การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุขเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3

Main Article Content

สิรินุช สายคูณ
จิรศักดิ์ แซ่โค้ว
นันทพงศ์ หมิแหละหมัน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งความสุข 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุข และ 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งความสุข กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 313 คน โดยการแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งความสุข มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุข โดยการสนทนากลุ่มย่อยจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โดยการแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษา มีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรแห่งความสุขโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งความสุขโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุข ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์  องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการเป็นองค์กรแห่งความสุข แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งความสุข และเงื่อนไขความสำเร็จ และ 3) ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กษมา ช่วยยิ้ม. (2563). การพัฒนารูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ก้านทอง บุหร่า. (2560). องค์กรแห่งความสุข: แนวคิด กระบวนการ และบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(3), 169-170.

ณัฐพงษ์ น้อยโคตร. (2565). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งความสุข สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนาการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนวุฒิ แก้วนุช, อุทัย บุญประเสริฐ และพิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2563). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา). วิทยาลัยครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นันทพงศ์ หมิแหละหมัน. (2564). รูปแบบการพัฒนาความผาสุกในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 575-587.

พิกุล พุ่มช้าง และปริญญา มีสุข. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถาบันการศึกษาไทย. วารสาร Veridain E-Journal,Silpakorn University, 10(2), 647-643.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (2562). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2562 - 2565). (อัดสำเนา)

สุรภี รุโจปการ. (2563). ศาสตร์ สอน สื่อ สุข. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

UNESCO. (2016). Happy Schools A Framework for Learner Well-Being in the Asia Pacific. Retrieved from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000244140.