ผ่อ : มิติมุมมองในการผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงพุทธในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของเยาวชนในพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้ง

Main Article Content

พระอุดมบัณฑิต
อัครเดช พรหมกัลป์
พระมหาชุติภัค อภินนฺโท
รัตติยา เหนืออำนาจ
วีระศักดิ์ บุญดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เสริมสร้างจิตสำนึกของเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้ง 2) ส่งเสริมการผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงพุทธในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเยาวชนในพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้งและ 3) สร้างเครือข่ายเยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงพุทธเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยการศึกษาในเชิงเอกสาร, การสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อกรอบการเสริมสร้างจิตสำนึกของเยาวชนที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้ง, การสัมมนาทางวิชาการเพื่อพัฒนาความรู้และเสริมสร้างจิตสำนึกของเยาวชน และ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงพุทธ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนามาหาข้อสรุปการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า 1) การเสริมสร้างจิตสำนึกของเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้งผ่านการสัมมนาทางวิชาการเมื่อสิ้นสุดการอบรมเยาวชนผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทิศทางที่ดีขึ้น 2) การส่งเสริมการผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงพุทธในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเยาวชนผ่านการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเมื่อสิ้นสุดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเยาวชนผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการวางแผน ถ่ายทำ ตัดต่อ และนำเสนอสื่อสร้างสรรค์ในระดับที่สูงขึ้นและมีความมั่นใจมากขึ้น และ 3) การสร้างเครือข่ายเยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงพุทธเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้งจากการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย คณะสงฆ์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ผู้นำองค์กรภาคประชาชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด ผู้ผลิตสารคดี ผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์ ผู้ปกครอง คณะครู และนักเรียน ที่มามีส่วนร่วมกันพัฒนาความรู้ ทัศนคติ และทักษะให้กับเยาวชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มพัฒนานโยบายและแผนการศึกษาแห่งชาติ. (2562). แนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

กาญจนา เชี่ยววิทย์การ. (2563). การรับและการส่งต่อเนื้อหารายการวิทยุของเยาวชนยุค 4.0. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(6), 2082-2097.

เกศสุดา สิทธิสันติกุล และคณะ. (2562). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองเชียงใหม่อย่างมีส่วนร่วม : โครงการ Spark U เชียงใหม่ ปฏิบัติการเปลี่ยนเมือง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 11(2), 290-301.

ใกล้รุ่ง พูลผล และคณะ. (2561). กรอบนโยบายการจัดการแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้งอย่างยั่งยืน. วารสารเซนต์จอห์น, 21(29), 163-184.

จินตนา กสินันท์. (2560). สื่อสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชน กรณีศึกษา : คนปลายน้ำคลองท่าแนะจังหวัดพัทลุง. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(2), 10-32.

ดุษฎี นิลดำ และคณะ. (2561). อุดมการณ์ความเป็นไทยที่ถูกถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์เรื่อง สันติ-วีณา. วารสารเซนต์จอห์น, 21(28), 281-293.

บุณณดา สุปิยพันธุ์ และคณะ. (2564). กระบวนการพัฒนาเยาวชนสร้างสื่อสันติสุขในสังคมออนไลน์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(1), 304-318.

ประคอง มาโต. (2562). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวในพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้ง. วารสารวิจยวิชาการ, 2(2), 89-105.

ประวีณมัย บ่ายคล้อย. (2561). การผลิตรายการ “วิจัยไทยพลัส” เพื่อเผยแพร่ความรู้จากงานวิจัยสู่สาธารณะในรูปแบบของสกู๊ปข่าวโทรทัศน์. วารสารเซนต์จอห์น, 23(32), 283-299.

เพ็ญประภา เพชระบูรณิน และคณะ. (2557). แนวทางการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี: เขื่อนจุฬาภรณ์จังหวัดชัยภูมิ. ใน การประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557 (น. 579-588). ขอนแก่น : เซ็นทารา โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชันเซ็นเตอร์.

รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2558). การสื่อสารองค์กรแนวคิดการสร้างชื่อเสียงอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การใช้ ICT ของเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2561. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/ pdf

สุพิมล ศรศักดา และคณะ. (2555). รูปแบบและกระบวนการอนุรักษ์ป่าชุมชนแนวพุทธในจังหวัดอุบลราชธานี. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อนงค์นาฏ แก้วไพฑูรย์. (2559). ยุทธศาสตร์การบริหารการอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำตะวันตกแบบมีส่วนร่วม. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

UNESCO. (1977). Intergovernmental Conference on Environmental Education Organized. Retrieved from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000032763