รูปแบบการวัดการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล

Main Article Content

ประภาส จันทร์โคตร
พงษ์สุวรรณ ศรีสุวรรณ
วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการวัดเชิงทฤษฎีของโมเดลการวัดการบริหารงานวิชาการตามธรรมาภิบาลของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล โดยมีขั้นตอนการสังเคราะห์ ประกอบด้วย การสังเคราะห์นิยามของการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัล การสังเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัล การสังเคราะห์องค์ประกอบของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเสริมสร้างธรรมาภิบาล และการสังเคราะห์รูปแบบการวัดการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลในยุคดิจิทัล ผลการสังเคราะห์สรุปได้ว่า รูปแบบเชิงทฤษฎีของรูปแบบการวัดการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล เป็นรูปแบบการวัดอันดับที่ 2 แบบ Reflective Measurement Model โดยรูปแบบการวัดอันดับที่ 1 เป็นรูปแบบการวัดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเสริมสร้างหลักธรรมาภิบาล จำนวน 4 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการใช้เทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์เสริมสร้างธรรมาภิบาล รูปแบบการใช้เทคโนโลยีอุปกรณ์พกพาเสริมสร้างธรรมาภิบาล รูปแบบการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายสังคมออนไลน์เสริมสร้างธรรมาภิบาล และรูปแบบการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งเสริมสร้างธรรมาภิบาล และรูปแบบการวัดอันดับที่ 2 เป็นรูปแบบการวัดการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นรูปแบบที่แสดงว่าตัวแปรแฝงการบริหารงานวิชาการเป็นสาเหตุของตัวแปรแฝงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหาร ก่อนนำรูปแบบเชิงทฤษฎีของรูปแบบการวัดการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลไปใช้ประโยชน์ จะต้องทำการตรวจสอบความตรงเชิงทฤษฎีด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

Article Details

How to Cite
จันทร์โคตร ป. ., ศรีสุวรรณ พ. ., & พัฒนกุลชัย ว. . (2025). รูปแบบการวัดการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิจยวิชาการ, 8(2), 363–384. https://doi.org/10.14456/jra.2025.50
บท
บทความวิชาการ

References

กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. (2550, 16 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 24 ก, หน้า 29-36.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. เข้าถึงได้จาก https://www.mdes.go.th/content/download-detail/2798

จรุณี เก้าเอี้ยน, (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา: กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์.

ฐนัฐ วงศ์สายเชื้อ. (2560). แบบจำลองสมการโครงสร้างใน AMOS-#31 โมเดลการวัดแบบ Reflective vs. Formative Model. เข้าถึงได้จาก https://youtube/-nIzMYm 9aAg?si=LOuWvCSeAjxoD3Kw.

ธนดล ทองประกอบ. (2562). ธรรมาภิบาลในยุคดิจิทัล: บทบาทของหน่วยงานกลางในการส่งเสริมการเป็นรัฐบาลแบบเปิดในประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 11(3), 107-126.

นวินดา ลาดกำแพง. (2565). การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล: กรณีศึกษา กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563-2565. (2564, 14 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 127 ง, หน้า 32.

ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2570. (2566, 10 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 140 ตอนพิเศษ 84 ง, หน้า 14.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริม.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก, หน้า 1-90.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : นานมีบุคส์.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ, (2555). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). สงขลา : นำศิลป์.

สันติ บุญภิรมย์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2555). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. เข้าถึงได้จาก https://www2.opdc.go.th/content.php?menu id=5&content_id=2442.

สุปรีดา โกษาแสง และคณะ. (2565). เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการบริหารสถานศึกษาในยุค Digital Transformation. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 19(37), 242-250.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559) . การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล (School Management in digital Era). เข้าถึงได้จาก https://www.trueplookpanya.com./blog/content/52232/-edu-t2S1-t2t2s3-

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2561). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. เข้าถึงได้จาก http://www.True plookpanya.com/knowledge/content/52232-edu-teaartedu-teaart-eaartdir

Bangkokbanksme.com. (2564). 5 เทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัลกระแสแรงแห่งปี 2021. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/digital-technology-trends-of-2021

Berryhill, J., Heang, K. K., Clogher, R. & Keegan McBride, K. (2019). Hello, World: Artificial Intelligence and Its Use in the Public Sector. Paris : OECD. https://doi.org/10.1787/726fd39d-en.

Christopher, J. M. (2019). From Theory to Practice: Open Government Data, Accountability, and Service Delivery. Policy Research Working Paper Series 8873, The World Bank. Retrieved from https://ideas.repec.org/p/wbk/w brwps/8873.html

Council of Europe Portal 75: 1949-2014. (n.d.). Good Governance: Democracy and Technology. Formative Model. Retrieved from https://www.coe.int/en/web /good-governance/democracy-and-technology.

International Social Security Association. (n.d.). Exelence in Administration ISSA Guidelines:Good Governance. Retrieved from https://www.issa.int/guidline s/gg/174436

Schoemaker, E. (2004). A Shared Vision for Digital Technology and Governance: The role of governance in ensuring digital technologies contribute to development and mitigate risk. Retrieved from https://www.undp.org /sit es/g/files/zskgke326/files/2024-02/undp-dsf-a-shared-vision-for-digital-tech nology-and-governance.pdf

United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific. (2009). What is Good Governance? Retrieved from https://www.unescap.org/resources /what-good-governance

United Nations. (2021). United Nations Conference on Trade and Development: Technology and Innovation Report 2021 Catching technological waves Innovation with equity. NY : United Nations Publications.