รูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตามหลักสาราณียธรรม 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) สร้างรูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตามหลักสาราณียธรรม 6 และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตามหลักสาราณียธรรม 6 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน การสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูป/คน และประเมินรูปแบบ จำนวน 16 คน โดยใช้แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 1.1) ขั้นการตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่าย ผู้บริหารสถานศึกษามีการสร้างความตระหนักให้ทุกคนมองเห็นประโยชน์ร่วมกัน 1.2) ขั้นประสานหน่วยงาน/องค์กรเครือข่าย ผู้บริหารสถานศึกษาใช้การติดต่อสื่อสารสองทาง จัดกิจกรรมให้สมาชิกได้กระทำร่วมกัน 1.3) ขั้นสร้างพันธสัญญาร่วมกัน ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินงานเครือข่ายโดยมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ข้อตกลงร่วมกัน 1.4) ขั้นบริหารจัดการเครือข่าย ผู้บริหารสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเครือข่าย จัดโครงสร้าง กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ วางกฎ กติการ่วมกัน 1.5) ขั้นพัฒนาความสัมพันธ์ ผู้บริหารสถานศึกษาจัดกิจกรรมให้สมาชิกมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กัน 1.6) ขั้นรักษาความสัมพันธ์ ผู้บริหารสถานศึกษาสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สร้างขวัญ กำลังใจ เชิดชูเกียรติแก่สมาชิก 2) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตามหลักสาราณียธรรม 6 พบว่า มีรูปแบบทั้งสิ้น 24 แนวทาง และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตามหลักสาราณียธรรม 6 พบว่า มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
กาญจนา พิมพ์สุข. (2555). การประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 ในการบริหารสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ขจรวรรณ ภู่ขจร. (2564). รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนกาสอนภาษาจีนในโรงเรียนเอกชน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ขนิฏฐา กาญจนรังสีนนท์. (2566). เครือข่ายเพื่อการพัฒนา. เข้าถึงได้จาก https://asapake. tripod.com/k10.htm.
ธนานนท์ แสงทองทาบ และคณะ. (2565). การสร้างมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารกับชุมชน ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 1(3), 117-130.
ธีระชัย ช่วงบุญศรี. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ประยูร อัครบวร และคณะ. (2553). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธวัชชัย ชยวุฑฺโฒ (ไชยวุฒิ). (2564). รูปแบบองค์กรแห่งความสุขตามหลักสาราณียธรรมของวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา) บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.
พระมหากฤษดา สิริวฑฺฒโน. (2565). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีจันทร์วิทยา แผนกสามัญศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 2(5), 25-32.
ไพรสณฑ์ มะโนยานะ. (2556). คู่มือการใช้รูปแบบเครือข่ายกลุ่มโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. แพร่ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2.
ภัทรพล คำผาลา. (2566). แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 3(3), 27-36.
ภัทรวรรธน์ นิลแก้วบวรวิชญ์. (2559). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริพงษ์ อรุณเดชาชัย. (2559). สถานีสาราณียธรรม: พื้นที่บ่มเพาะความรู้ชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านแฮด ตำบลบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
อุดมสิน คันธภูมิ. (2558). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนาการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.