รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิจิตร ตามหลักอิทธิบาท 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิจิตร 2) สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิจิตร ตามหลักอิทธิบาท 4 และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิจิตร ตามหลักอิทธิบาท 4 เป็นงานวิจัยเชิงผสานวิธี ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ การจัดสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน โดยใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และผู้เชี่ยวชาญประเมินรูปแบบ จำนวน 15 คน ใช้แบบประเมิน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย ด้านการบริหารวิชาการ มีการพัฒนาหลักสูตร บูรณาการทักษะอาชีพกับรายวิชาอื่น ๆ นักเรียนได้ปฏิบัติจริง ด้านการบริหารงบประมาณ มีการจัดสรรงบประมาณ ทรัพยากร สื่อวัสดุ อุปกรณ์ และระดมทรัพยากรจากเครือข่ายมาร่วมจัดการเรียนการสอน ด้านการบริหารงานบุคคล มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ สร้างขวัญกำลังใจ สร้างแรงจูงใจ ยกย่อง สนับสนุนให้ก้าวหน้า ด้านการบริหารทั่วไป มีการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม สนับสนุนและจัดการศึกษา ใช้ PDCA ขับเคลื่อนงาน มีเป้าหมาย คือ นักเรียนมีทักษะอาชีพและมีรายได้ การสร้างเครือข่ายและการประสานงานช่วยให้การบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำเร็จ 2) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิจิตร ตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า ด้านบริหารวิชาการ ได้รูปแบบ 12 แนวทาง ด้านบริหารงบประมาณ ได้ 10 แนวทาง ด้านบริหารงานบุคคล ได้ 6 แนวทาง ด้านบริหารทั่วไป ได้ 6 แนวทาง และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิจิตร ตามหลักอิทธิบาท 4 ทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
นฤมล แจ้งกิจ. (2560). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดซิกซ์ ซิกม่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พระปลัดธนา ชินทตฺโต (ชินทนาม). (2560). การประยุกต์ใข้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวิทวัฒ์ วิวฑฺฒนเมธี (จันทร์เต็ม). (2561). การบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยุพิน ขุนทอง. (2560). การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สายเพ็ญ บุญทองแก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). การศึกษาแนวโน้มความต้องการกำลังคนโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการเสริมทักษะและสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ. เข้าถึงได้จาก https:// cmi4.go.th/group/supervision/wp-content/uploads/2019/07/11-แนวทางการเสริมทักษะและสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ-2561.pdf