แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาตนเองสำหรับการสร้างอาชีพของผู้สูงอายุในชุมชนวัดยม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาตนเอง 2) กำหนดสมรรถนะในการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาตนเอง และ 3) เสนอแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาตนเองสำหรับการสร้างอาชีพในตำบลของผู้สูงอายุในชุมชนวัดยม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยวิจัยเชิงคุณภาพ มีแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือการวิจัย ใช้กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาลักษณะและข้อสรุปร่วม ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการในการพัฒนาตนเองสำหรับการสร้างอาชีพในตำบลของผู้สูงอายุเป็นการพัฒนาอาชีพในชุมชนมาจากการกำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาลที่กระจายมายังท้องถิ่นจัดให้ ไม่ได้เกิดมาจากความต้องการของชุนชน ในขณะที่ผู้สูงอายุมีความต้องการทางสังคมเป็นการจัดทำโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อเป็นเหตุนำเอาผู้สูงอายุออกมานอกบ้าน รวมไปถึงการสร้างกิจกรรมนันทนาการเพื่อการรวมกลุ่มสร้างสรรค์ อาทิเช่น การพัฒนาอาชีพ การเรียนรู้การทำของใช้ในบ้านเพื่อใช้ในชีวืตประจำวัน การทำกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจลดต้นทุน การออกกำลังกาย 2) การกำหนดสมรรถนะของการพัฒนาตนเองสำหรับการสร้างอาชีพในตำบลของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาอาชีพ เช่น ทำผลิตภัณฑ์กลุ่ม สินค้า เครื่องใช้ภายในบ้าน อันเป็นการส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศึกษาดูงาน พัฒนากิจกรรมการทำสินค้าเพื่อใช้ในบ้านและนำมาจำหน่ายในชุมชน และ 3) แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาตนเองสำหรับการสร้างอาชีพในตำบลของผู้สูงอายุในชุมชนวัดยม จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีลักษณะเป็นการ ให้ความรู้ความเข้าใจโดยมีวิทยากรมาให้ความรู้สนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพ สร้างกิจกรรมส่งเสริมกลุ่มอาชีพในท้องถิ่น โดยการสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในอาชีพ รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขพัฒนาไปสู่ความต้องการการพัฒนาตนเองสำหรับการสร้างอาชีพของผู้สูงอายุอย่างแท้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กมลพร กัลยาณมิตร. (2565). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เปลี่ยนภาระเป็นพลัง ร่วมพัฒนาสังคม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(2), 31-46.
กษม ชนะวงศ์ และคณะ. (2565). แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในการเสริมสร้างคุณค่าและการพึ่งพิงตนเองด้านเศรษฐกิจ. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 12(2), 191-203.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). (2565, 1 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเษกษา. เล่มที่ 139 ตอนที่ 258 ง, หน้า 1-149.
ภารําพึง อริยะ. (2559). การพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพของผู้สูงอายุ เพื่อลดการพึ่งพาสังคม. (รายงานการวิจัย) สำนักงานปลัดกระทรวง (สป.) : สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 จังหวัดสุราษฎร์ธานี.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). (2559). คู่มือบริหาร กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559 การบริหารงบบริการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง (บริการควบคุมป้องกันและรักษา ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง). กรุงเทพฯ : บริษัท ธนาเพลส จำกัด.
สุภาวดี เทียนธาดา และคณะ. (2564). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการสร้างรายได้ให้ตนเองของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดพะเยา โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
World Health Organization. (1994). Division of Mental Health. Life Skills Education for Children and Adolescents in Schools. Geneva : World Health Organization.