การวิจัยเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนในประเทศไทย: เปรียบเทียบหลักเกณฑ์ทางกฎหมายกับมลรัฐอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา
ปพนธีร์ ธีระพันธ์
คำสำคัญ:
วิจัย, การกระทำความผิด, เด็กและเยาวชนบทคัดย่อ
การวิจัยเป็นอีกหนึ่งความรับผิดชอบของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย งานวิจัยจะถูกในไปใช้อย่างมีเหตุผลในการพัฒนาประเทศ การทำวิจัยจึงมีความสำคัญต่อสังคมส่วนรวม สำหรับการวิจัยเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน รวมถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนนั้น นักวิจัยในประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาของการเข้าถึงข้อมูล โดยเฉพาะกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนด้วยแล้ว ในทางปฏิบัติการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นมักเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากหน่วยงานที่ครอบครองข้อมูลดังกล่าวมักจะปฏิเสธการเข้าถึงเหล่านั้นด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการรักษาสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิด และไม่อยากตีตราบาปโดยการให้ข้อมูลต่อบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดี
ด้วยเหตุข้างต้น การพัฒนาความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน รวมถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศไทยจึงเกิดขึ้นได้ยากตามไปด้วยงานชิ้นนี้จึงเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลเพื่อการวิจัยทำได้สะดวกดังเช่นกฎหมายของมลรัฐอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่านการทำคำขอมาเป็นลายลักษณ์อักษร ชี้แจงรายละเอียดของงานวิจัย รวมถึงมีมาตรการในการปกป้องข้อมูลดังกล่าวมิให้ถูกเปิดเผย
References
พรชัย ขันตี และคณะ. (2558). ทฤษฎีทางอาชญาวิทยา: หลักการ งานวิจัย และนโยบายประยุกต์. กรุงเทพฯ: สำ
หนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต. หน้า 3-4.
ปพนธีร์ ธีระพันธ์. (2561). แนวทางการพัฒนาการเบี่ยงเบนคดีในชั้นสอบสวนที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำ
ความผิด. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 47(2), 365-366.
มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562
มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2560). วิธีวิทยาการวิจัยทางนิติศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท อาร์ทิพาเนีย
จำกัด. หน้า 11.
มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562
คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. (ม.ป.ป.). ประโยชน์ของการวิจัย. สืบค้น 30 กรกฎาคม 2563,
จาก http://comedu.nstru.ac.th/5581135032/index.php/2016-03-23-07-51-36/2016-02-15-06-51-
/4
ประสบการณ์การทำวิจัยของผู้เขียน.
มาตรา 130 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553
ประเทือง ธนิยผล. (2561). กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ
ครอบครัว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 205-206.
มาตรา 192 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553
สหรัฐ กิติศุภการ. (2562). คำอธิบายพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ
ครอบครัว พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). หน้า 309-310.
ปพนธีร์ ธีระพันธ์. (2561). คดีเยาวชนและครอบครัว. กรุงเทพฯ: นิติธรรม. หน้า 136-137.
Section 31-39-1-2Indiana Code
Section 31-39-2-11 Indiana Code
Section 31-39-1-1 Indiana Code
พรชัย ขันตี และคณะ. เล่มเดิม. หน้า 275.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว