ความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับคดีทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

จิดาภา พรยิ่ง และริญญาภัทร์ ณ สงขลา

ผู้แต่ง

  • จิดาภา พรยิ่ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ริญญาภัทร์ ณ สงขลา

คำสำคัญ:

เหลื่อมล้ำ,กระบวนการยุติธรรม,คดี,ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม×

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นคดีประเภท บุกรุกป่าทำการเกษตร เก็บฟืน หาของป่า เก็บพันธ์ไม้ต่างๆ เพื่อดำรงเลี้ยงชีพผู้กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นผู้ยากไร้หรือผู้ด้อยโอกาสในการทำมาหากิน เมื่อถูกดำเนินคดีต้องหาเงินหรือหลักทรัพย์ประกันตัวเพื่อต่อสู้คดี มิฉะนั้นต้องถูกกักขังรอดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมจนคดีถึงที่สุด       

          จากการศึกษาพบว่าผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ยากไร้หรือผู้ด้อยโอกาสในคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีโทษอาญาและโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ถือว่าเป็นโทษที่ไม่ร้ายแรง ควรได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์(EM) มาใช้เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน และผู้กระทำผิดที่มีฐานะยากจน ไม่มีทรัพย์สิน หลักประกัน หรือเงินมาวางเป็นหลักประกันต่อศาลหรือปล่อยชั่วคราวในชั้นพนักงานอัยการจนกว่าคดีเสร็จสิ้น ดังนั้น เพื่อให้ผู้กระทำผิดเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมและมิให้บุคคลเหล่านี้กลับมากระทำผิดซ้ำซาก รัฐควรจัดสรรกระจายที่ดินทำกินเพื่อให้ผู้ยากไร้หรือผู้ด้อยโอกาสมีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยตามที่ได้รองรับสิทธิไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 72 และมาตรา 73 และเป็นการปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2560-2564 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(พ.ศ. 2560-2580) แผนหลักของการพัฒนาประเทศเพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน

 

References

ราชกิจจานุเบกษา. (2554). เล่มที่ 128 ตอนที่ 30 ก วันที่ 29 เมษายน 2554 หน้า 1.

สมชัย ฑีฆาอุตมากร. (2562). คำพิพากษาฎีกา ตอนที่ 1. สำนักพิมพ์เนติบัณฑิตยสภา.

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2560). สถิติผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์. สืบค้น 26 มีนาคม 2563. จาก

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/736136

สถิติกรมป่าไม้. (2525). ข้อมูลสารสนเทศกรมป่าไม้. สืบค้น 26 มีนาคม 2563. จาก

http://forestinfo.forest.go.th/Content.aspx?id=9

ชญานิศ ภาชีรัตน์,สุนีย์มัลลิกะมาลย์. (2562). กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการ

ยุติธรรมทางอาญา. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 11(3), 585.

วิชาญ เครือรัตน์. (2563). ความเสมอภาคทางสิทธิมนุษยชนกับสิทธิการได้รับค่าตอบแทนของผู้เสียหายใน

คดีอาญา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7), 41.

ราชกิจจานุเบกษา. (2540). เล่มที่ 114 ตอนที่ 55 วันที่ 11 ตุลาคม 2540 หน้า 15.

ราชกิจจานุเบกษา. (2550). เล่มที่ 124 ตอนที่ 47 วันที่ 24 สิงหาคม 2550 หน้า 11.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก วันที่ 6 เมษายน 2560 หน้า 17-18.

ราชกิจจานุเบกษา. (2558). เล่มที่ 132 ตอนที่ 127 ก วันที่ 30 ธันวาคม 2558 หน้า 1-2.

คู่มือการปฏิบัติงาน. (2558). พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2558 การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทาง

ของบุคคลในการปล่อยชั่วคราว.

ราชกิจจานุเบกษา. (2559). เล่มที่ 133 ตอนที่ 31 ก วันที่ 7 เมษายน 2559 หน้า 3.

ประชาชาติธุรกิจ. (2561). ครม.อนุมัติแผนการบูรณาการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาความ

ยากจน. สืบค้น 26 มีนาคม 2563 จาก https://www.prachachat.net/general/news-266568

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2560-2564.

ราชกิจจานุเบกษา. (2484). เล่มที่ 58 ตอน - หน้าที่ 1417 วันที่ 15 ตุลาคม 2484 หน้า 3.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). เล่มที่ 135 ตอน 82 ก วันที่ 13 ตุลาคม 2561 หน้า 5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-05