ปัญหาเกี่ยวกับวัตถุแห่งคดีในการใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 213 : ศึกษาเชิงพัฒนาการทางกฎหมายในการนำระบบการร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญมาใช้ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อัชนา ไชยชนะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญ, มาตรา 213 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, วัตถุแห่งคดี

บทคัดย่อ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 213 ได้มีการบัญญัติ
ให้สิทธิแก่บุคคลในการยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อโต้แย้งว่า “การกระทำ” ซึ่งเกิดจากการใช้อำนาจรัฐละเมิดต่อสิทธิหรือเสรีภาพของตนโดยไม่ได้จำกัดวัตถุแห่งคดีให้มีแต่เฉพาะการโต้แย้งเกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ดังเช่นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เท่านั้น ซึ่งสามารถทำให้ช่องทางในการบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิและเสรีภาพที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญมีโอกาสเกิดขึ้นได้จริงอย่างไรก็ดี หากพิจารณาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561ซึ่งกำหนดเงื่อนไขและวิธีการในการใช้สิทธิ
ยื่นคำร้องตามมาตรา 213 กลับพบว่ายังมีการจำกัดขอบเขตวัตถุแห่งคดีในการใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 213 ในหลายกรณี ทำให้มีข้อน่าพิจารณาว่าบทบัญญัติมาตรา 213
อาจไม่สอดคล้องหรือไม่เป็นไปตามระบบการร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ และจะสามารถคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญจากการใช้อำนาจมหาชนต่างๆ ของรัฐได้เพียงใดบทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาให้เห็นถึงพัฒนาการทางกฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับวัตถุแห่งคดีในการใช้ยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะตามมาตรา 213 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ว่ามีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้สิทธิอย่างไร

References

,3] วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2556). ผลผูกพันของสิทธิทางรัฐธรรมนูญ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2562). สิทธิมนุษยชนกับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. รัฐธรรมนูญ 60 : 60 ปี สมคิด เลิศไพฑูรย์ รวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาส 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ (น. 79,107). กรุงเทพฯ: เดือนตุลาคม.

Bernadette, S. and Beatrix, V. (2012). Citizens Role in Constitutional Adjudication in Hungary: From the ActioPopularis to the Constitutional Complaint. Annales Universitatis ScientiarumBudapestinensis de Rolando Eot.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2553). การร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญในระบบกฎหมายเยอรมัน : วิเคราะห์ เปรียบเทียบการฟ้องคดีโดยประชาชนต่อศาลรัฐธรรมนูญในระบบกฎหมายไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วุฒิชัย จิตตานุ. (2546). การคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานตามคำร้องทุกข์ตามรัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ,5(13), 151,165.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2551). การใช้สิทธิทางศาลของบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิ หรือเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 28 ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

, 10] สมยศ เชื้อไทย.(2549). หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

มนตรี รูปสุวรรณ. (2529) กฎหมายรัฐสภา (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2553). การร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญในระบบกฎหมายเยอรมัน : วิเคราะห์เปรียบเทียบการฟ้องคดีโดยประชาชนต่อศาลรัฐธรรมนูญในระบบกฎหมายไทยวารสารนิติศาสตร์, 39(3), 470.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2561). หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 213. โครงการสัมมนาทางวิชาการ (น. 7).กรุงเทพฯ:สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ และคณะ. (2554). การกระทำทางรัฐบาล: ศึกษากรณีเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.....(2560). ใน การประชุม ครั้งที่ 7/2560 (น. 10–11).

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2547). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15