ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณี

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ คงไข่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

โสเภณี การค้าประเวณี มาตรการทางกฎหมาย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1)ศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีการค้าประเวณี
(2)ศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี (3)วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณีโดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศและเสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณีในประเทศไทย

การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยจากเอกสาร ข้อมูล
ที่ทำการศึกษาทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสาร สิ่งตีพิมพ์ ตัวบทกฎหมาย ตำรา บทความ ระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องและข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

ผลการศึกษาพบว่า (1)กฎหมายที่เกี่ยวกับการค้าประเวณีในประเทศไทยยังบัญญัติให้
การค้าประเวณีเป็นความผิด อันทำให้การค้าประเวณียังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม (2)ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย ทั้งเรื่องที่รัฐไม่สามารถควบคุมดูแลผู้ค้าประเวณี เรื่องสุขภาพอนามัยของ
ผู้ค้าประเวณี เรื่องความปลอดภัยในชีวิตร่างกายของผู้ค้าประเวณี รวมถึงการที่ผู้ค้าประเวณี
ถูกเอาเปรียบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ (3)แม้จะมีกฎหมายบัญญัติให้การค้าประเวณีเป็นความผิด
แต่ก็ยังมีการค้าประเวณีกันอย่างแพร่หลาย ดังนั้นผู้ศึกษาเห็นว่าควรกำหนดให้การค้าประเวณี
ในประเทศไทยเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด โดยการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณี เพื่อให้ผู้ค้าประเวณีมีสิทธิต่างๆจากรัฐ และรัฐเองก็สามารถควบคุมดูแลผู้ค้าประเวณีในด้านต่างๆและเป็นการแก้ปัญหาการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้ค้าประเวณีได้อีกทางหนึ่ง

 

References

อรวรรณ จันทร์ทอง. (2532). ปัญหาความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณี.(วิทยานิพนธ์นิติศาสตร

มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันชัย ศรีนวลนัด. (2505). ทัศนคติของตำรวจไทยต่อปัญหาโสเภณี. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน.กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองธรรม.

พงษ์ธร ลำหาญ. (2536). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณีในสถานบริการ

อาบอบ นวด. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวัชรอุษณาวัฒน์. (2547). กฎหมายและมาตรการคุ้มครองหญิงและเด็กจากธุรกิจบริการ

ทางเพศ.กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม.

ปรีชาวัชร์ เศวตภัทรไพศาล และพีรพจน์ ปิ่นทองดี. (2561).ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติ

ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีพ.ศ. 2539.วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทรรศน์

(2),148 -155.

กิตติ เสริมบุตร. (2516).รัฐกับการควบคุมการค้าประเวณี. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกัน

ราชอาณาจักร รุ่นที่ 16.

ชุมพล กาญจนะ. (2534).การใช้มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและแก้ไขปัญหาการนำเด็ก

มาเพื่อค้าประเวณี.(วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์. (2544).หลักกฎหมายอาญาภาคความผิด.กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-22