ข้อจำกัดบางประการในการบังคับใช้กฎหมายทรัพยากรป่าชายเลน

ผู้แต่ง

  • ศิริชัย กุมารจันทร์ Thaksin University

บทคัดย่อ

ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายด้านทรัพยากรป่าชายเลนในประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากประชาชนขาดความตระหนักถึงหลักในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนอย่างยั่งยืน ทำให้ในปัจจุบันพบว่าทรัพยากรป่าชายเลนมีจำนวนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากถูกบุกรุกเข้าทำประโยชน์ในด้านต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นการทำนากุ้ง การขยายตัวของถิ่นที่อยู่อาศัย หรือการรุกล้ำบริเวณชายฝั่งเพื่อทำท่าเทียบเรือ ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่ประชาชนยังขาดความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของป่าชายเลนหรือวิธีการใช้ทรัพยากรป่าชายเลนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้จากการวิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน พบว่าในประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่รองรับการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนโดยตรง เพียงแต่เป็นการนำบทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้จึงทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว เนื่องจากแต่ละบทบัญญัติของกฎหมายก็จะให้อำนาจหน้าที่กับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติของกฎหมายนั้น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการซ้อนทับกันของอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กร
การดำเนินงานขาดความเป็นเอกภาพเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายในการบริหารจัดการทรัพยากร
ป่าชายเลนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรมีการออกมาตรการทางกฎหมายที่เฉพาะเจาะจงกับทรัพยากรป่าชายเลนและควรมีการศึกษาพื้นที่ต้นแบบในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในด้าน
การบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลน

References

มีชัย วรสายัณห์. (2535). มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.(2545). การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่6.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2556).คู่มือความรู้เรื่องป่าชายเลน. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พลอยมีเดีย.

สุรินทร์ภรณ์ ศรีอินทร์และอัจฉรา ศรีพันธ์. (2563). การจัดการความรู้ของชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน.วารสารศึกษาศาสตร์. 22(1),หน้า 301-314.

คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.(2560).ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ, หน้า 1-15.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2552).แผนยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรป่าชายเลนประเทศไทย.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ, หน้า 2-31.

พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484. (2484, 15 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา, 58, 1417.

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2555). มาตรการทางกฎหมายในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน.วารสารนิติศาสตร์.5(1),หน้า 49-64.

พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558. (2558,

มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา, 132 (21 ก), 49-60.

พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562. (2562, 29 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา, 136 (71 ก), 145-165.

กรกฎ ทองขะโชค และจันทราทิพย์ สุขุม. (2552).กฎหมายกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศึกษาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507. (2507, 28 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา, 81 (38), 263.

สำนักข่าวกรองแห่งชาติ. (2565). ข้อมูลพื้นฐานต่างประเทศ; สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม, หน้า 3-4.

ประพฤติ ฉัตรประภาชัย และคณะ. (2563). ข้อมูลกฎหมายของประเทศเวียดนามและ

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสังคม วัฒนธรรม การเมืองและความมั่นคงของประเทศเวียดนาม.รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.

สถานีวิทยุกระจายเสียงเวียดนาม. (2559). เวียดนามพัฒนาป่าชายเลนอย่างยั่งยืน.สืบค้น 2 มิถุนายน 2565จากhttps://vovworld.vn/th-TH/ข่าวเด่น/เวียดนามพัฒนาป่าชายเลนอย่างยั่งยืน-493760.vov

ไทยพับลิก้า. (2558).Green Contract-MFFคนอยู่กับป่า -ป่าอยู่กับคนเพื่อการอยู่อย่างยั่งยืน.สืบค้น 2 มิถุนายน 2565 จาก https://thaipublica.org/2015/09/iucn-green-contract-mff.

Tomislav Klarin. (2018).The Concept of Sustainable Development: From its Beginning to the Contemporary Issues Zagreb International Review of Economics & Business, P.67-94.

ดิเรกปัทมศิริวัฒน์. (2550). การคลังท้องถิ่นรวมบทความวิจัยเพื่อเพิ่มพลังให้ท้องถิ่น.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ เอ พี ลีฟวิ่ง, หน้า 145-173.

ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภณการพิมพ์,หน้า 2.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, 6 เมษายน 2560, หน้า 1-90.

กรกฎ ทองขะโชค และ นันทพล กาญจนวัฒน์. (2562). ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา.วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 11(3),หน้า 643 – 662.

เอกราช สุวรรณรัตน์ และคณะ. (2564).การอนุรักษ์ปลาสามน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาโดยมิติทางกฎหมายและการมีส่วนร่วมของประชาชน.วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น.5(2), หน้า 85-109.

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์.(2556).กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก, 11 ตุลาคม2540, หน้า 1-99.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก, 2สิงหาคม 2550, หน้า 1-127.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-08