การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

ผู้แต่ง

  • กัญญาพัชร ดุลยพัชร์ Faculty of Law, Thaksin University
  • กรกฎ ทองขะโชค

คำสำคัญ:

การไกล่เกลี่ย, ข้อพิพาททางปกครอง, มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

บทคัดย่อ

             

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนวคิด ทฤษฎี หลักการ กฎหมายไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับ
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมเกี่ยวกับการจัดตั้งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ วิธีดำเนินการวิจัยเป็นเชิงคุณภาพประกอบเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบด้วย (1) กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ จากศาลปกครองสงขลาและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดสงขลา และ(2) กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคือ ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จังหวัดสงขลารวมจำนวนทั้งหมด 16 คน โดยจะถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผลในรูปเชิงพรรณนาอย่างเป็นระบบ นำไปสู่การหาคำตอบในงานวิจัย

ผลการศึกษาพบว่า การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองของกฎหมายไทยและสาธารณรัฐฝรั่งเศสแตกต่างกัน เนื่องจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสให้อำนาจคู่กรณีมอบบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตุลาการศาลปกครองทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยได้ ขณะที่ประเทศไทยกำหนดให้เพียงแต่ตุลาการศาลปกครองเป็น
ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเท่านั้น สำหรับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ มี 3 กรณี คือ 1) ก่อนดำเนินการทางวินัย จรรยาบรรณหรือธรรมาภิบาลและจริยธรรมและความรับผิดทางละเมิด กรณีมีการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร หรือกระทำละเมิดทางปกครอง 2) กรณีอุทธรรณ์และร้องทุกข์ เมื่อผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และ3) ข้อพิพาทอันสืบเนื่องมาจากสัญญาทางปกครองก่อนที่จะนำคดีไปฟ้องต่อศาลปกครอง ส่วนข้อพิพาทที่ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ มี 2 กรณี คือ เมื่ออธิการบดีใช้ดุลพินิจออกเป็นคำสั่งทางปกครองแล้ว และการกระทำที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี หรือที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อมหาวิทยาลัย
ทั้งกรณีไกล่เกลี่ยได้และไกล่เกลี่ยไม่ได้ ยังไม่มีกฎหมายรองรับ 

ข้อเสนอแนะควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ.2542 โดยให้หน่วยงานทางปกครองสามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองได้ก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาล
และจัดทำ “(ร่าง) ข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง พ.ศ. ....” เพื่อเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

References

วรพจน์ เวียงจันทร์. (2557). การไกล่เกลี่ย สมานฉันท์ ในระบบพิจารณาคดีอย่างต่อเนื่องของ

ศาลยุติธรรม: ศึกษาเฉพาะกรณีของศาลจังหวัดพิษณุโลกและศาลจังหวัดกบินทร์บุรี.สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม, 8–13.

ประสาท พงษ์สุวรรณ์. (2516). การระงับข้อพิพาททางปกครองโดยวิธีอื่นนอกจากการฟ้องคดีหรือพิพากษาโดยศาลปกครอง.วารสารนิติศาสตร์, 33(3), 470.

Tongkachok, K., Pornying, J., Sakolnakorn, T. P. N. (2020). Online Mediation Innovation in theCourt of Justice, Thailand. International Journal of Innovation, Creativity and Change. 14(12),954-968.

ชัย วงศ์คำจันทร์. (2558). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล. สำนักงานศาลยุติธรรม, 8.

ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) . (13 ตุลาคม2561). ราชกิจจานุเบกษา.

เล่ม 135ตอนที่ 82 ก. หน้า 1.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ พ.ศ. 2550. (2550,

ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนพิเศษ 199 ง. หน้า 1.

พัชฌา จิตรมหึมา. (2560).แนวคิดและหลักการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลปกครองฝรั่งเศสที่แก้ไข

เพิ่มเติมใหม่ ค.ศ.2016, เอกสารเสนอคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เพื่อประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ....,กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 1-20.

พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562. (2562, 22 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 67 ก. หน้า 1.

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542. (2542, 10 ตุลาคม).

ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 94 ก. หน้า 1.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ, หน้า 20, 122 และ139.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2579). กรุงเทพฯ, หน้า 144.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน) . ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134ตอนที่ 40 ก. หน้า 1.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579, ก, ฉ และ144.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2564). สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2564, จาก

http://www.mua.go.th/university-2.html

สถิติคดีปกครอง.(2564). ในศาลปกครอง,จากhttps://admincourt.go.th/ADMINCOURT

/site/03statministry.html

ชนิดา จิตตรุทธะ. (2560). วัฒนธรรมองค์การ Organizational Culture ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 71 และ81-83.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2561). การพัฒนาองค์การ: ประเด็นทบทวนสู่การประยุกต์ใช้เพื่อการจัดการชุมชน.มหาวิทยาลัยศิลปากร.38(6), 35–36.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2555). หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม.จุลนิติ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 55–56.

ฤทัย หงส์สิริ. (2558). ศาลปกครองกับคดีพิพาทเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย. สถาบันคลังสมองของชาติ,16และ 21.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2553). หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563,

จาก http://www.public-law.net/publaw/view.aspx?id=1431

สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง. (2559). หลักนิติธรรมกับสังคมไทย.มหาวิทยาลัยธนบุรี, 118–121.

ไพศาล บรรจุสุวรรณ์. (2559). การเคลื่อนตัวทางความคิดจากการบริหารรัฐกิจดั้งเดิมสู่การบริหารปกครอง แบบประชาธิปไตย: ตัวอย่างบทวิเคราะห์ปัญหาด้านการศึกษาของประเทศไทย.ด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. 5(1), 11.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2539). การเมืองกับการบริหาร.พัฒนบริหารศาสตร์. 36(1), 2.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร, 18-19.

สุรัสวดี ราชกุลชัย. (2543). การวางแผนและการควบคุมทางการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์จามจุรี, 3.

พัชราวลัย ศุภภะ. (2562). นโยบายสาธารณะและการวางแผนเพื่อจัดการองค์การภาครัฐ. นครปฐม :มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 222 - 223 และ226.

Kaul, M. (1997). The new public administration: management innovations in government. Public Administration and Development: The International Journal of Management Research and Practice, 17(1), 13-26.

Folberg, J., Golann, D., Stipanowich, T. J., Reynolds, J., & Schmitz, A. J. (2021). Resolving disputes: Theory, practice, and law. Wolters Kluwer Law & Business, 16-25.

รัฐพล เย็นใจมา และสุรพล สุยะพรหม. (2561). ความขัดแย้งในสังคม: ทฤษฎีและแนวทางแก้ไข.มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 7(2), 224–238.

Zhao, Y. (2022). Mediation in Modern China: Thinking About Reform. In Mediation and Alternative Dispute Resolution in Modern China. Springer, Singapore, 15-36.

Hamid, H., Haming, M., Semmaila, B., &Bijang, J. (2020). A mediation effect of new public management on the relationship between intelligence, leadership, HR quality and performance of local government employees in Indonesia. Management Science Letters,10(7), 1401-1408.

กิตติภณ สืบมา. (2554). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยสำนักงานอัยการสูงสุด. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต,24-25.

ฝ่ายวิจัยและแผน สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง. (2557). คู่มือเทคนิคการเจรจาในภาวะวิกฤต, 9-10.

LOI nc2016-1547 du 18 novembre 2016 de modernization de la justice du XXlesiècle. (2016, 18 novembre).

คำชี้แจงเหตุผลรายประเด็นในการรับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ

วิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

ในคดีปกครอง). (2561).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-22