มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการเล่นเกมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ชญาภรณ์ กิตติสารพงษ์ Master of law student School of Law Sripatum University
  • ศิวพร เสาวคนธ์

คำสำคัญ:

การควบคุม, การเล่นเกมออนไลน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการเล่นเกมออนไลน์ วิธีดำเนินการวิจัยทำโดย ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลแบบวิจัยดังกล่าว โดยนำข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ บทความ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ วารสาร ตลอดจนหลักกฎหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องผลการศึกษาพบว่า ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดอายุของผู้เล่นเกมออนไลน์ พบว่าพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 53 ไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับอายุของ
ผู้ที่เข้าถึงและเล่นเกมออนไลน์ไว้ ทำให้การเข้าถึงและเล่นเกมออนไลน์เป็นไปอย่างเสรีและไม่จำกัดช่วงอายุ และด้วยลักษณะของเกมบางประเภทมีความรุนแรง ทำให้ผู้เล่นเลียนแบบพฤติกรรม นอกจากนั้นบางเกมต้องมีการซื้อขายอุปกรณ์ ซึ่งการหารายได้จึงอาจนำไปสู่ปัญหาการลักทรัพย์อาชญากรรม ปัญหาเกี่ยวกับคณะกรรมการควบคุมการเล่นเกมออนไลน์ พบว่าพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 58 ไม่ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการที่ควบคุมการจัดประเภทของเกมออนไลน์ที่เหมาะสมกับช่วงอายุผู้เล่นไว้ เนื่องจากบางเกมมีลักษณะรุนแรง
ซึ่งอาจเหมาะกับกลุ่มคนอายุ 25 ปีขึ้นไป หรือบางประเภทอาจเหมาะกับอายุ 20-25 ปี ส่งผลให้
การเลือกเล่นเกมใดในเกมออนไลน์และผู้ประกอบการเกี่ยวกับเกมมีการเข้าถึงเกมและซื้อขายกันเป็นไปอย่างเสรีและปราศจากการควบคุมใด ๆ ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมการเล่นเกมออนไลน์ พบว่าพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 18
ไม่ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการใดมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมผู้เล่นเกมหรือจัดประเภทของ
เกมออนไลน์ที่เหมาะสมกับช่วงอายุผู้เล่น ส่งผลให้เกมทุกประเภทผู้เยาว์และบุคคลทั่วไปสามารถเล่นเกมได้ทุกประเภท เพียงแค่มีความชอบและสนใจเกมดังกล่าว

References

กุลชาติ ดีชัย และธนวัฒ พิสิฐจินดา. (2562). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินในเกมส์ออนไลน์

ของผู้เล่นเกมส์. เอกสารการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้าน

มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฎสวนสุนันทา วันที่ 19 มกราคม 2562. หน้า 1040-1045.

ณรงค์ศักดิ์ เปาอินทร์. (2554).สำรวจคุณสมบัติที่ต้องการของเครื่องเล่นเกมพกพาในอนาคต.

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ธันยวนันฐ์ เลียนอย่าง. (2563). การควบคุมการเล่นเกมออนไลน์ของเยาวชนเจเนอเรชั่น Z ใน

ครอบครัว. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12 (2), หน้า 329-339.

ภรัณยู แกล้วกล้า และรุ่ง ศรีสมวงษ์. (2558). มาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของ

ผู้ใช้บริการเกมออนไลน์. MFU Connexion, 6 (1), หน้า 1-19.

วุฒิชัย พิมพ์เนตร์. (2563). มาตรการในการควบคุมการซื้อขายไอเทมแบบสุ่มในเกมออนไลน์.

สารนิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. หน้า 34-46.

Workpointnews. (2560). แม่ช็อกลูกเล่นเกม ROV ซื้อไอเท็ม 20,000 บาท. (ออนไลน์). เข้าถึง

ได้จาก: https://workpointnews.com/2017/10/20/แม่ช็อกลูกเล่นเกม-rov-ซื้อ/. สืบค้นเมื่อ

กรกฎาคม 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-15