การพัฒนากฎหมายในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และความไม่เหมาะสมที่ส่งผลกระทบ
ต่อประสิทธิภาพในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (3) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไข พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้พบว่าการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมยังมีปัญหาและความไม่เหมาะสมที่จะทำให้
ได้รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ องค์ประกอบคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่ขาดองค์กรเอกชน บทลงโทษเจ้าของโครงการที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และคณะกรรมการผู้ชำนาญการข้อเสนอแนะของงานวิจัยนี้ได้เสนอแนะ แก้ไขให้มีองค์กรเอกชนทางด้านสิ่งแวดล้อม
เป็นคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กำหนดบทลงโทษที่เหมาะสมสำหรับเจ้าของโครงการที่ฝ่าฝืนกฎหมาย กำหนดให้ผู้นำชุมชนและประชาชนเป็นคณะกรรมการผู้ชำนาญการและเปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์ความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ
References
สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. (2559). แนวทางปฏิบัติการพิจารณารายงานการวิเคราะห์
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน ระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. (2559). แนวทางปฏิบัติการพิจารณารายงานการวิเคราะห์
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน ระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
อำนาจ วงศ์บัณฑิต. (2562). กฎหมายสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์ . (2561). กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
อินทิรา เอื้อมลฉัตร. (2552). เอกสารการสอนชุดวิชา กฎหมายสิ่งแวดล้อม หน่วยที่ 1-7.
นนทบุรี: สุโขทัยธรรมาธิราช.
สนธิ วรรณแสง. (2541). การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: เอ็นไวร์ คอนเซ็ป จำกัด.
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2542). การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 206 ง หน้า 24 วันที่ 27 สิงหาคม 2561
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ Thaksin Law Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว