ปัญหาการก่ออาชญากรรมของเด็กและเยาวชนกับมาตรการลงโทษ

ผู้แต่ง

  • ยุทธชัย ด้วงสวัสดิ์ -

คำสำคัญ:

เด็ก , เยาวชน , กระทำผิดอาญา , ร้ายแรง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึงปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน โดยศึกษากฎหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนดังนี้พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และประมวลกฎหมายอาญา ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยในปัจจุบัน
กำลังประสบปัญหาการก่ออาชญากรรมที่เกิดจาการกระทำของเด็กและเยาวชน โดยมีเหตุปัจจัยหลักๆที่ส่งผลในการกระทำผิดไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านครอบครัว สังคมเพื่อนในการคบหา หรือปัญหาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดในปัจจุบัน ซึ่งเด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและส่งผลในการก่ออาชญากรรมแบบออนไลน์ได้อีกช่องทางหนึ่ง และสุดท้ายก็คงเป็นเหตุปัจจัยทางด้านกฎหมายที่มีความล้าหลังอันจะส่งผลให้การบังคับใช้ไม่มีความเด็ดขาดเพียงพอเพราะกฎหมายของประเทศไทยมุ่งคุ้มครองเด็กและเยาวชนเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นความผิดร้ายแรงเพียงใดก็ตาม เมื่อหากจะเปรียบเทียบกฎหมายทั้งสามประเทศที่ผู้เขียนหยิบยกมาพิจารณาได้แก่ ประเทศเยอรมัน ประเทศแคนนาดา และประเทศฝรั่งเศส ซึ่งกล่าวโดยสรุปทั้งสามประเทศได้พิจารณาแยกเกณฑ์อายุ และประเภทความร้ายแรงของความผิดแม้เป็นเด็กและเยาวชนก็จะต้องโดนจำคุกเช่นเดียวกัน
ดังนั้นรัฐจึงควรตระหนักถึงปัญหาในประเด็นนี้โดยจะต้องมีมาตรการที่เหมาะสมและสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้โดยสามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษและลดการก่ออาชญากรรมรัฐควรจัดให้มีกฎหมายหรือมาตรการที่สามารถควบคุมและทัดเทียมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยการมีกฎหมายเข้ามาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหานั้นเอง

References

คณิต ณ นคร. (2551). กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:วิญญูชน.

คณิต ณ นคร. (2560). กฎหมายอาญาภาคทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน.(2565). รายงานสถิติการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนจำแนกตามประเภทความผิด: สืบค้นเมื่อ 11/12/2565 เข้าถึงได้จากhttps://www.djop.go.th/home

สมพร อมรชัยนพคุณ. (2552). บทความกฎหมายกระบวนการยุติธรรมกับการกระทําความผิดของเด็กและเยาวชน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : www.lawonline.co.th.

เอกรัตน์ กุลนะ(2553) ปัญหาการคุ้มครองสิทธิเด็ก ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 (สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม)

ปพนธีร์ ธีระพันธ์(2562). การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนประวัติอาชญากร ของเด็กและเยาวชน: บทความวิชาการ วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์. (2547). มาตรฐานองค์การสหประชาชาติว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กรุงเทพ: เดือนตุลา.

German Youth Court Law (JGG).

Youth Criminal Justice Act, Canada

บุญญานุช เริ่มภักดี. (2559). ส่องกระบวนการยุติธรรมต่างชาติ ตัดสินโทษ "เยาวชนทำผิด". (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.posttoday.com/politics/413838.

juvenile justice in France

อโนทัย ศรีดาวเรือง(2557).การคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญา:ศึกษากรณีอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวในการโอนคดีตามมาตรา 97 วรรคสอง.วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานิติศาสตร์, คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28