หลักการมีส่วนร่วมและการจัดทำบริการสาธารณะด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ศิริชัย กุมารจันทร์ Thaksin University

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม บริการสาธารณะ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นสิ่งที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติในบริเวณทะเลและชายฝั่ง หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งถือเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อประเทศ แต่จากการศึกษาในปัจจุบันพบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ส่งผลให้ทรัพยากรดังกล่าวมีการเสื่อมโทรมลง และไม่มีสิ่งใหม่ทดแทน ซึ่งสาเหตุหลักของการเสื่อมโทรมเกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่เข้าบุกรุกทำประโยชน์ในพื้นที่อันเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจ และภาครัฐไม่ได้มีการจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นระบบ  ซึ่งสิ่งที่จะช่วยฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนนั้น หลักแนวคิดที่สำคัญได้แก่ หลักการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐและภาคประชาชนและหลักการบริการสาธารณะ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนเพื่อประโยชน์ของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชุมชนชายฝั่ง ซึ่งในการวิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายพบว่าทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย      พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 ได้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของภาครัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้อย่างชัดเจน และเน้นถึงหลักการมีส่วนร่วมควบคู่ไปกับหลักบริการสาธารณะ หากทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญและร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งก็จะส่งผลให้เกิดการเพิ่มพื้นที่ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงลดการทำลายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้  

 

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2564). เกี่ยวกับเรากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. สืบค้นจาก https://www.dmcr.go.th/aboutus/ab.

นรากร นันทไตรภพ. (2563). ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, ร้อยเรื่องเมืองไทย. สำนักวิชาการ

สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา.

กองจัดการความหลากลายทางชีวภาพ. (2566). ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง. สืบค้นจาก https://chm-thai.onep.go.th/?page_id=355.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2566). รายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: ดู คอนเนคชั่น จำกัด.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564. สืบค้นจาก https://www.ryt9.com/s /cabt/3198497.

ศิริชัย กุมารจันทร์. (2562). กฎหมายปกครองท้องถิ่น. พัทลุง: คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ. พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 50.

ลักษมี เกตุสกุล. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านทุ่งศรีอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม.

Cohen JM. and Uphoff NT. (1980). Participation’s Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity. World Development. 8 (3): 213-235.

เอกราช สุวรรณรัตน์ และคณะ. (2564). การอนุรักษ์ปลาสามน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยมิติทางกฎหมายและการมีส่วนร่วมของประชาชน. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น. 5(2), หน้า 85-109.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการปกครองส่วนท้องถิ่น. เอกสารวิชาการ. สืบค้นจากhttp://www.suankluay.go.th/news/doc_download/a_200617 _142949.pdf.

ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาปัจจุบันในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

จำลอง โพธิ์บุญ. (2012). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 3(1).

กรกฎ ทองขะโชค และคณะ. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าต้นน้ำในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เอกราช สุวรรณรัตน์ และคณะ. (2561). ธรรมนูญชุมชนกับการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนลุ่มน้ำอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาคลองท่าแนะจังหวัดพัทลุง (รายงานผลการวิจัย) .พัทลุง: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักสนับสนุนองค์กรสภาชุมชน. (2559). ชุดความรู้การจัดทำธรรมนูญตำบลสู่การจัดการตนเอง. สืบค้นจาก https://web.codi.or.th/wp-content/uploads/2019/05/book-KNOW-180859.pdf

กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2550). สิทธิของบุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2543). อบต. สีเขียวเล่ม 1 ในคู่มือโครงการความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรชุมชน. กรุงเทพฯ: ส. ไพบูลย์การพิมพ์.

อำนวย บุญรัตนไมตรี. (2554). การจัดทำบริการสาธารณะร่วมกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรทัย ก๊กผล. (2552). เคล็ดลับการจัดบริการสาธารณะท้องถิ่น: บทเรียนจากรางวัลพระปกเกล้า’ 51.กรุงเทพฯ: ส เจริญ การพิมพ์ จำกัด.

นราธิป ศรีราม. (2557). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น. เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มานพ พรหมชนะ. (2565). กฎหมายปกครองกับบริการสาธารณะ; กฎหมายกับการพัฒนา. สืบค้นจาก

https://www.bangkokbiznews.com/columnist/990925

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และกอบกุล รายะนาคร. (2552). การขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการจัดการบริหารสาธารณะที่ดี. กรุงเทพฯ: ทัช ที คิว พี จำกัด.

โสภารัตน์ จารุสมบัติ. (2551). นโยบายและการจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบิกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, 6 เมษายน 2560, หน้า 1-90.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560. กรุงเทพฯ. สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

กฤตพร ห้าวเจริญ. (2561). ทฤษฎีและแนวความคิดทางการวางแผนและผังเมือง. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542,

ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 116 ตอน 114 ก, 17 พฤศจิกายน 2542, หน้า 48.

พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพ.ศ. 2558, ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอน 21 ก, 26 มีนาคม 2558, หน้า 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29