การนำโทษปรับรายวันมาใช้ในคดีคุ้มครองผู้บริโภค
คำสำคัญ:
โทษปรับอัตราคงที่, โทษปรับแบบรายวัน, คดีผู้บริโภคบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการลงโทษและโทษปรับในคดีอาญา ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับโทษปรับทางอาญาของประเทศไทยและต่างประเทศ วิเคราะห์เหตุผล ความเหมาะสมการนำโทษปรับระบบรายวันมาใช้ในคดีคุ้มครองผู้บริโภค และได้มาซึ่งแนวทางในการนำโทษปรับในระบบรายวันมาใช้ในคดีคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย โดยศึกษาด้วยระบบการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า โทษปรับเป็นโทษที่บังคับต่อทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดและใช้บังคับแทนที่โทษจำคุกระยะสั้น จำแนกได้เป็น 2 ระบบ ได้แก่ ระบบการปรับแบบอัตราคงที่และระบบการปรับแบบผกผันตามรายได้ (รายวัน) ซึ่งในคดีคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย ยังคงใช้ระบบการปรับแบบอัตราคงที่ แต่ในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสวีเดน ประเทศฟินแลนด์ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส และประเทศสหรัฐอเมริกา ต่างนำโทษปรับแบบรายวันมาใช้บังคับอย่างทั่วไป ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าระบบโทษปรับรายวัน จะกำหนดจำนวนเงินปรับแปรผันไปตามความหนักเบารุนแรงของของความผิดและแปรผันไปตามรายได้ของผู้กระทำความผิด ทำให้เกิดผลทางกฎหมายอย่างเสมอภาคระหว่างผู้กระทำความผิดที่มีฐานะร่ำรวยกับผู้กระทำความผิดที่มีฐานะยากจน ซึ่งหมายความรวมไปถึงผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ประกอบการในคดีคุ้มครองผู้บริโภคด้วย ดังนั้น
ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะทางหลักการขึ้นว่า ประเทศไทยควรนำเอาระบบโทษปรับแบบรายวันมาใช้ในคดีคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมหมวดว่าด้วยโทษปรับแบบรายวันขึ้นในกฎหมาย โดยมีหลักการการพิจารณาค่าปรับใน 3 ประการ ได้แก่ 1) ความรุนแรงของการกระทำ 2) ผลจากการกระทำ และ 3) สถานะทางการเงินของผู้กระทำความผิด
References
วราภรณ์ ศิริสัจจวัฒน์. (2540). โทษปรับ : ศึกษากรณีระบบวันปรับ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,.
ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2555). กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาชั้นสูง ทฤษฎีการลงโทษ หน่วยที่ 6 สาขาวิชานิติศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พยนต์ สินธุนาวา. บทบาทและหน้าที่ของพนักงานคุมประพฤติด้านการสืบเสาะและพินิจ. เอกสารประกอบผลงานเรื่องที่ 1. กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม.
สหธน รัตนไพจิตร. (2527). ความประสงค์ของการ ลงโทษอาญา: ศึกษาเฉพาะประเทศไทยสมัยใช้กฎหมายลักษณะอาญาและประมวลกฎหมายอาญา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อิสร์กุล อุณหเกต. (2556). ระบบค่าปรับทางอาญา. กรุงเทพฯ: เปนไท.
Elena Kantorowicz- Reznichenko, Maximilian Kerk. (2020). Day Fines: Asymmetric Information and the Secondary Enforcement System. European Journal of Law and Economics.
คณะก้าวหน้า. (2565). Day-fine ไม่ใช่แค่เรื่องของค่าปรับ. สืบค้นวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://progressivemovement.in.th.
M Riijihärvi. (1996). Corporate Criminal Liability – Finland in de Doelder and Tiedemann (eds), La Criminalisation du Comportement Collectif.
Hans-Jorg Albrecht, & Elmer H. Johnson. (1980). Fines and Justice Administration: The Experience of the Federal Republic of Germany. International Journal of Comparative and Applied Criminal Justice. 4 (1).
เพลินตา ต้นรังสรรค์. (2554). สัมมนาระดมความคิดเห็น เรื่อง แนวทางการจัดแบ่งกลุ่มความผิดและโทษในประมวลกฎหมายอาญาไทย. วารสารจุลนิติ, ก.ค. - ส.ค.
อุทัย อาทิเวช. (2554). รวมบทความกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ.พริ้นติ้ง.
พิชยนต์ นิพาสพงษ์. (2542). โทษปรับโดยกำหนดตามวันและรายได้ (Day Fine). วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว