แนวทางการพัฒนากฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและมาเลเซีย
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนากฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายมาเลเซีย
ที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยการใช้วิธีการศึกษาวิจัยเอกสารศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศมาเลเซีย เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนากฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย
ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุมและไม่มีสภาพบังคับในการประกอบอาชีพนี้ ส่งผลให้บุคคลใดก็สามารถประกอบอาชีพนี้ได้ ทำให้ผู้บริโภคต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการถูกนายหน้าหลอกลวง ทั้งนี้ เพราะไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติหรือหลักเกณฑ์ในการออกใบอนุญาต รวมถึงบทลงโทษสำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือทุจริตหลอกลวงผู้บริโภค
ข้อเสนอแนะของงานวิจัยฉบับนี้ได้เสนอให้ออกกฎหมายหรือมาตรการในการควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยออกเป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต (2) องค์กรที่เข้ามาควบคุม และ (3) บทลงโทษ
References
ไผทชิต เอกจริยกร. (2565). ตัวแทน นายหน้า (AGENCY-BROKERAGE). (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
Post today. (2560). ลุ้นพรบ.นายหน้าปลุกตลาดบ้านมือสอง. สืบค้น 5 มิถุนายน 2566, จาก https://www.posttoday.com/property/511422
MGR Online. (2565). “กัน จอมพลัง” ลงสงขลาช่วยครอบครัวถูกนายหน้าหลอกนำที่ดินไปขายเสียหายกว่า 60 ล้าน. สืบค้นจาก https://mgronline.com/south/detail/9650000096133
มติชนออนไลน์. (2565). ร้องปปป.ถูกนายหน้าจับมือเจ้าหน้าที่หลอกฮุบที่ดิน จ.สงขลา มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท. สืบค้น 5 มิถุนายน 2566, จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3248353
the Age of Majority Act 1971
The Valuers, Appraisers, and Estate Agents Act 1981
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ 2542
เดลินิวส์ออนไลน์ (2566). ส่องสถิติ Top 5 ชาวต่างชาติ เข้าลงทุนในไทยสูงสุดรอบปี 66 สืบค้น15 มิถุนายน 2566, จาก https://www.dailynews.co.th/news/23511
สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย. (2559) “สมาคมนายหน้าอสังหาฯ จับมือสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน) เร่งสร้างมาตรฐานและเพิ่มทักษะอาชีพนายหน้าก่อนมีกฎหมายบังคับ,” สืบค้น 20 มิถุนายน 2566 จาก https://www.ryt9.com/s/prg/1765806
อภิวัฒน์ สุดสาว (2561). การกำหนดโทษอาญาตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย. จุลนิติ, 15(2)
ประมวลกฎหมายอาญา.
ค้นหาคำพิพากษา (2543). สืบค้น 10 สิงหาคม 2566, จาก https://deka.in.th/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ Thaksin Law Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว