มาตรการและรูปแบบของการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของสถานศึกษาโดยใช้จังหวัดเป็นฐาน
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเพื่อให้สถานศึกษามีความเป็นอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษาอย่างแท้จริงโดยอาศัยจังหวัดเป็นฐาน โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเอกสารและการวิจัยภาคสนามจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในจังหวัดที่เป็นพื้นที่นำร่องนวัตกรรมทางการศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่ที่อยู่ภายใต้การบริหารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายังไม่มีความเป็นอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษาอย่างแท้จริง เพราะเกิดการมอบอำนาจช่วงจากกระทรวงศึกษาธิการไปยังคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำให้อำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ และการบริหารงานบุคคล ถูกควบคุมโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขณะที่สถานศึกษานำร่องตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 และสถานศึกษาที่อยู่ภายใต้การกำกับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษามากกว่า ดังนั้นเพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีความเป็นอิสระและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนอย่างแท้จริง ควรมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาโดยมีหน่วยงานกำกับดูแลสถานศึกษาในระดับจังหวัดเป็นศูนย์กลาง คือ ศึกษาธิการจังหวัด และกระจายอำนาจบางส่วนไปยังสถานศึกษาโดยตรง
References
หยัด ขจรเกียรติผดุง และเพิ่ม หลวงแก้ว. (2563). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจสู่สถนศึกษา. วารสารปัญญาณิธาน, 5(1)
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษา. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาการปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565 เอกสารอัดสำเนา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2557). กฎหมายปกครอง. (พิมพ์ครั้งที่ 4 ). กรุงเทพฯ: วิญญูชน
ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์. (2565). ปัญหา “การมอบอำนาจช่วง” ในการออกกฎของฝ่ายปกครอง. สืบค้น
กรกฎาคม 2566 จาก http://web.krisdika.go.th/data/activity/act13834.pdf
ภัชธีญา ปัญญารัมย์. (2563). ความอิสระของสถานศึกษานำร่องในการใช้หลักสูตรตามพระราชบัญญัติ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. สืบค้น 12 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.edusandbox.
com/independence-of-school/
ฉวีวรรณ อินชูกุล. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ศิลปากร , กรุงเทพฯ
อุทัย บุญประเสริฐ และคณะ. (2544). การกระจายอำนาจด้านการศึกษาในประเทศไทย. ใน สถาบัน พระปกเกล้า, ระบบและกระบวนการกระจายอำนาจในประเทศไทย (น.107 – 136). กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า
เรวดี กระโหมวงศ์ และคณะ. (2557). การกระจายอำนาจทางการศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ภาคใต้ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว