มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่าสงขลา

ผู้แต่ง

  • ธีรยุทธ ปักษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

กฎหมาย, การท่องเที่ยว, เมืองเก่าสงขลา

บทคัดย่อ

จังหวัดสงขลามีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย โดยเฉพาะในเขตเมืองเก่าสงขลาซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอาคารสถาปัตยกรรม วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อพิธีกรรม อาหาร ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์และมีคุณค่า ไม่ว่า
จะเป็นคุณค่าด้านสุนทรียภาพความสวยงาม คุณค่าด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจนได้รับการประกาศ
ให้เป็นเขตพื้นที่เมืองเก่าจากคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าฯ และมีการผลักดันให้เขตเมืองเก่าสงขลาเป็นเมืองสร้างสรรค์ของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO

ผลการศึกษาพบว่า แม้เขตเมืองเก่าสงขลาจะมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และคงความ
เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนเก่าแก่และวัฒนธรรมมายาวนาน แต่คงต้องยอมรับว่าความเจริญต่าง ๆ ที่เข้ามานั้นย่อมส่งผลกระทบต่อเขตเมืองเก่าสงขลาอย่างมาก หากไม่มีมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ การท่องเที่ยว
ในเขตเมืองเก่าสงขลาก็อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ในอนาคต

บทความวิจัยนี้จึงเสนอแนวทางในการการจัดทำมาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนา
การท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่าสงขลาโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในลักษณะการบูรณาการและ
สานประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนการใช้มาตรการบังคับทางกฎหมาย จะช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้
งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถบูรณาการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน จนนำไปใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดสงขลาต่อไป

References

กนกกานต์ แก้วนุช. (2564). การจัดการการท่องเที่ยวและการพัฒนาชุมชนการท่องเที่ยวภายใต้พลวัตรโลก. กรุงเทพฯ : ฟรีมายด์ พับลิชชิ่ง.

ศราวัสดี นวกัณห์วรกุล และดวงเงิน ซื้อภักดี. (2564). แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเก่าสงขลาฝั่งบ่อยาง. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 13(1), 80-98.

ชุลีพร ทวีศรี. (2561). พัฒนาการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (รายงานผลการวิจัย). สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

เอกราช สุวรรณรัตน์ และคณะ. (2564). การอนุรักษ์ปลาสามน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาโดยมิติทางกฎหมายและการมีส่วนร่วมของประชาชน. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(2), 85-110.

เกรียงศักดิ์ เกิดศิริ และคณะ. (2563). เมืองเก่ากับการอนุรักษ์และพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมศักดิ์ ตันติเศรณี. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของย่านเมืองเก่าสงขลาในเขตเทศบาลนครสงขลา. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 9(2), 361-400.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-30